| ||
นักวิทยาศาสตร์คำนวณพบทุก ชั่วโมงทั่วโลก เกิด “ฝนฟ้าคะนอง” มากถึง 760 ครั้งเลยทีเดียว แต่ข้อมูลใหม่ที่เปิดเผยในที่ประชุมของนักภูมิศาสตร์นี้ยังน้อยกว่าข้อมูล ที่เชื่อถือมาเกือบศตวรรษอยู่มากทีเดียว ข้อมูลการนับจำนวนครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองนี้ เป็นงานวิจัยใหม่ ที่อาศัยความร่วมมือของเครือข่ายสถานีตรวจสภาพอากาศทั่วโลก ที่สามารถวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic pulse) ที่เกิดจากฟ้าผ่าที่รุนแรง และได้เปิดเผยข้อมูลนี้ในการประชุมของสหภาพภูมิศาสตร์ยุโรป (European Geosciences Union) ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย จากการนับจำนวนพายุฝนฟ้าคะนองพบว่าทุกๆ ชั่วโมง ทั่วโลกเกิดฝนฟ้าคะนองถึง 760 ครั้ง แต่บีบีซีนิวส์รายงานว่าจำนวนดังกล่าว น้อยกว่าจำนวนที่เคยนับและใช้กันมาเกือบศตวรรษ และงานวิจัยนี้ยังยืนยันว่าพายุฝนฟ้าคะนองนั้น เป็นปรากฏการณ์เขตร้อนที่สำคัญ อีกทั้งลุ่มแม่น้ำคองโก (Congo) เป็นจุดที่มีความร้อนเข้มข้น (hotspot) ของโลก และพายุฝนฟ้าคะนอง ยังช่วยในการติดตามเส้นทางแสงอาทิตย์บนโลก ที่ทำให้เกิดการพาความร้อนในอากาศ “อาจมีสถานีตรวจวัดอากาศ ที่พลาดการตรวจจับสัญญาณฟ้าผ่าไปบ้าง แต่เราเชื่อว่าสามารถจับสัญญาณใหญ่ๆ ได้ ซึ่งมากพอที่จะบอกเราได้ว่า เกิดพายุฝนฟ้าคะนองที่ไหน ผ่านการทำงานเป็นเครือข่ายทั่วโลก” คอลิน ไพร์ซ (Colin Price) หัวหน้าภาควิชาธรณีฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ระหว่างดวงดาว จากมหาวิทยาลัยเทล อาวีฟ (Tel Aviv University) ในอิสราเอลกล่าว การศึกษาครั้งนี้ ทำให้นักวิจัยได้แก้ไขจำนวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองที่ใช้เป็นมาตรฐานมา ตั้งแต่ช่วงปี 1920 ซึ่งคาดว่า ครั้งแรกที่มีความพยายามในการประมาณจำนวนฝนฟ้าคะนองคือในปี 1925 โดย ซีอีพี บรูคส์ (CEP Brooks) นักภูมิอากาศวิทยาอังกฤษ ซึ่งในช่วงเวลานั้น สถานีตรวจวัดสภาพอากาศจะบันทึกวันที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนองในระยะใกล้ๆ เท่าที่ทำได้ ผลการคำนวณของบรูคส์ออกมาว่า โดยเฉลี่ยแล้วทั่วโลกเกิดฝนฟ้าคะนองประมาณ 1,800 ครั้งต่อชั่วโมง หากแต่งานวิจัยของเขานั้น มีข้อมูลที่ยังไม่สมบูรณ์ และยังสรุปอย่างผิดพลาด ซึ่งข้อสรุปหนึ่งที่ผิดพลาดคือพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นเท่าๆ กันบนแผ่นดินและในทะเล ทว่าอันที่จริงแล้วพายุฝนฟ้าคะนองใหญ่ๆ เกิดขึ้นบนโลก ในช่วงทศวรรษ 1950 โอเอช กิช (OH Gish) และ จีอาร์ เวท (GR Wait) ได้โดยนำเครื่องบินขึ้นไปเหนือฝนฟ้าคะนองใหญ่ๆ 21 ครั้ง พร้อมทั้งนำอุปกรณ์ขึ้นไปตรวจวัดความต่างศักย์และกระแสไฟฟ้าในอากาศ เมื่อขยายผลไปส่วนอื่นๆ ของโลก พวกเขาประเมินได้ว่า มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นทั่วโลกปีละ 2,000-3,600 ครั้ง ทุกวันนี้ แม้ว่าดาวเทียมจะเข้ามาบทบาทมากขึ้น แต่ไม่ได้ตรวจวัดสภาพอากาศทั้งโลก สำหรับงานวิจัยล่าสุดนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เทคนิคที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง โดยอาศัยข้อมูลจากสถานีตรวจวัดสภาพอากาศทั่วโลกมากกว่า 40 แห่ง เพื่อตรวจวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากการเกิดฟ้าผ่าครั้งใหญ่ๆ จากการประสานงานสถานีตรวจวัดแบบสามเหลี่ยม ทำให้เครือข่ายค้นหาตำแหน่งเกิดฟ้าแลบทั่วโลก (World Wide Lightning Location Network) จะสามารถหาจุดเกิดฟ้าผ่าได้ และเมื่อจัดกลุ่มให้ปรากฏการณ์ฟ้าแลบเหล่านั้น อัลกอริทึมของคอมพิวเตอร์ที่ทีมวิจัย จะคำนวณได้ว่าเป็นปรากฏการณ์จากพายุฝนฟ้าคะนองใด แต่ละทวีปจะเกิดฝนฟ้าคะนองสูงสุดในช่วงเวลาระหว่างวัน และในภาพรวมทั่วโลก เกิดสูงสุดในช่วงเที่ยงของเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) โดยฝนฟ้าคะนองจะรวมกลุ่มในศูนย์กลางทวีปของเขตร้อน และเห็นได้ชัดในลุ่มน้ำคองโก “นั่นอาจเป็นเพราะว่าแถบนั้นแห้งแล้งกว่าลุ่มน้ำอะเมซอน และฝนฟ้าคะนองดูจะก่อตัวได้ง่าย ในภาวะเงื่อนไขที่แห้งแล้ง” ดร.ไพร์ซอธิบายแก่บีบีซีนิวส์ ตอนนี้ทางเครือข่ายกำลังหาวิธีที่จะเพิ่มจุดสังเกตใหม่ เพื่อแก้ไขผลลัพธ์ที่ได้ให้ดีขึ้น และเร็วๆ นี้ได้เริ่มต้นโครงการที่จะตรวจวัดการปะทุของภูเขาไฟ ผ่านการตรวจวัดแสงแวบของฟ้าผ่า ที่เกิดขึ้นระหว่างการพ่นเถ้าถ่านร้อนออกมา |
วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2554
ฝนฟ้าคะนอง
ทุกชั่วโมงทั่วโลกเกิด “ฝนฟ้าคะนอง” ถึง 760 ครั้ง
วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554
ระดับความรุนแรงเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์
7 ระดับความรุนแรงเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 เมษายน 2554 16:41 น.
แผ่นดินไหววัดความเสียหาย ได้เป็น “ริกเตอร์” ในกรณีเหตุการณ์นิวเคลียร์ก็มีการวัดระดับความเสียหายไว้เช่นกัน โดยความรุนแรงสูงสุดคือระดับ 7 ซึ่งนอกจากเหตุการณ์ร้ายแรงที่ “เชอร์โนบิล” ญี่ปุ่นยังยกระดับความรุนแรงที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะให้เป็น "ระดับสูงสุด" นี้ด้วย
ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์นิวเคลียร์นั้น วัดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (INES: International Nuclear Event Scale) ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ระดับ
ข้อมูลจากเว็บไซต์ทบวงการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ไอเออีเอ) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) แจกแจงถึงระดับความรุนแรงไว้ดังนี้ ระดับ 1-3 จัดเป็นอุบัติการณ์ (incident) และระดับ 4-7 จัดเป็นอุบัติเหตุ (accident) ส่วนระดับ 0 ลงไปไม่มีนัยที่สำคัญ (no safety significance)
มาตรวัดระดับความรุนแรงนี้ ใช้สำหรับประเมินเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ที่ใช้ทั่วไป และเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารกับประชาชน ในเกณฑ์ที่สอดคล้องกับประเด็นความปลอดภัยของรายงานอุบัติการณ์และอุบัติเหตุ ทางนิวเคลียร์ โดยใช้กับเหตุการณ์ใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทางด้านนิวเคลียร์ ตั้งแต่การขนส่ง การจัดเก็บ และการใช้ประโยชน์จากสารรังสีและแหล่งกำเนิดรังสี แต่มาตรวัดนี้ไม่ใช้กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ อย่างเช่นการแผ่รังสีของก๊าซเรดอน (radon) เป็นต้น
จากการจัดระดับความรุนแรงตามมาตราดังกล่าว ทำให้เหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด เป็นความรุนแรงที่สุดตามมาตรานี้ และล่าสุดสถานการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ (Fukuchi Daiichi) ได้ยกขึ้นเป็นระดับ 7 เทียบเท่าอุบัติเหตุนิวเคลียร์ร้ายแรงเมื่อ 25 ปีก่อน
ส่วนเหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์ (Three Mile Island) ของสหรัฐฯ ระเบิด จัดเป็นความรุนแรงระดับ 5
สำหรับผลกระทบจากเหตุการณ์นิวเคลียร์ 7 ระดับ ประเมินจากการประเมินผล 3 อย่าง ไล่จากการสูญเสียการป้องกันเชิงลึก (defence in depth degradation) ผลกระทบ ณ สถานที่ตั้งโรงงาน (on-site effect) และ ผลกระทบนอกสถานที่ตั้งโรงงาน (off-site effect)
ระดับ 1 - เหตุผิดปกติ (ของวิปริต )
ผลกระทบต่อการป้องกันเชิงลึก - มีการได้รับรังสีเกินขีดจำกัดประจำปีตามกฎหมายกำหนด, มีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับองค์ประกอบความปลอดภัย แต่ยังมีความสามารถในการป้องกันเชิงลึก และมีการสูญหายหรือเกิดการขโมยอุปกรณ์รังสี ชุดรังสีสำหรับเดินทางหรือแหล่งกำเนิดรังสีในระดับที่ไม่สูงมาก หากแต่การจัดระดับความรุนแรงนี้ก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ซึ่งยากที่จะวัดได้ตรงๆ ว่าเหตุผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในระดับ 1 หรือต่ำกว่านั้นซึ่งไม่มีนัยสำคัญ
ระดับ 2 - อุบัติการณ์ (เหตุการณ์ )
ผลกระทบต่อการป้องกันเชิงลึก - มีความผิดพลาดในการจัดเตรียมด้านความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่มีสืบเนื่องตามมา, พบแหล่งกำเนิดรังสีสูงที่ไม่มีเจ้าของ แต่อุปกรณ์ห่อหุ้มไม่ได้รับความเสียหาย, การห่อหุ้มสำหรับวัสดุกำเนิดรังสีสูงไม่เพียงพอ
ผลกระทบ ณ ที่ตั้งโรงงาน - ระดับการแผ่รังสีในบริเวณปฏิบัติงานมากกว่า 50 มิลลิซีเวิร์ตต่อชั่วโมง, มีการปนเปื้อนในบริเวณที่ไม่ควรจะมีการแผ่รังสี
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม - ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรังสีเกิน 10 มิลลิซีเวิร์ต, ผู้ปฏิบัติงานด้านรังสีได้รับรังสีในปริมาณมากกว่าขีดกำจัดประจำปีที่กฎหมาย กำหนด
ระดับ 3 - อุบัติการณ์รุนแรง (Serious incident)
ผลกระทบต่อการป้องกันเชิงลึก - เกิดอุบัติเหตุใกล้ๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยไม่มีมีการเตรียมระวังเรื่องความปลอดภัย, แหล่งกำเนิดรังสีที่ผนึกไว้อย่างดีสูญหายหรือถูกขโมย, ขนส่งแหล่งกำเนิดรังสีสูงผิดพลาด โดยไม่มีกระบวนการรับมือที่ดีพอ
ผลกระทบ ณ ที่ตั้งโรงงาน - มีการปลดปล่อยรังสีในพื้นที่ดำเนินงานมากกว่า 1 ซีเวิร์ตต่อชั่วโมง, มีการปนเปื้อนสูง ในบริเวณที่ไม่ควรจะมีการแผ่รังสี แต่มีโอกาสต่ำที่คนทั่วไปจะได้รับรังสีจากบริเวณดังกล่าว
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม - มีระดับรังสีสูงกว่าที่ขีดจำกัดที่กฎหมายกำหนด สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านรังสี 10 เท่า, การแผ่รังสีส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระดับที่ไม่ทำให้ถึงตาย
ระดับ 4 - อุบัติเหตุที่มีผลกระทบในระดับท้องถิ่น (Accident with local consequences)
ผลกระทบ ณ ที่ตั้งโรงงาน - แท่งเชื้อเชื้อเพลิงหลอมละลายหรือแท่งเชื้อเพลิงได้รับความเสียหายและมีการ ปลดปล่อยสารรังสีปริมาณเล็กน้อย , มีการปลดปล่อยสารรังสีปริมาณสูงภายในพื้นที่และมีโอกาสสูงที่ประชาชนจะได้ รับสารรังสีในปริมาณสูงด้วย
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม - มีการปลดปล่อยสารรังสีในระดับต่ำและต้องวางแผนรับมือ ,มีการควบคุมอาหารในพื้นที่, มีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 1 ราย
ระดับ 5 - อุบัติเหตุพร้อมผลกระทบในวงกว้าง (Accident with wider consequences)
ผลกระทบ ณ ที่ตั้งโรงงาน - เกิดความเสียหายรุนแรงที่แกนปฏิกรณ์, สารรังสีปริมาณมากถูกปล่อยออกมา และมีโอกาสสูงที่จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อประชาชน และยกระดับความรุนแรงขึ้นไปอีกหากเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงมากขึ้นหรือเกิด เพลิงไหม้
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม - การจำกัดการปลดปล่อยวัสดุนิวเคลียร์ จำเป็นต้องมีการรับมือที่ได้รับการวางแผนอย่างดี, มีผู้เสียชีวิตหลายรายจากการได้รับรังสี
ระดับ 6 - อุบัติเหตุรุนแรง (Serious accident)
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม - มีการปลดปล่อยสารรังสีออกมาจำนวนมาก และต้องบรรลุผลในการรับมือตามแผน
อุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ระดับนี้ เคยเกิดขึ้นครึ่งหนึ่งกับโรงงานแปรสภาพเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว (nuclear waste reprocessing facility) สำหรับการทหาร ในเมืองมายัค (Mayak) ของอดีตสหภาพโซเวียต เมื่อ 29 ก.ย.1957 ซึ่งเกิดปัญหาระบบทำความเย็นล้มเหลวในโรงงาน ทำให้มีวัสดุรังสีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม 70-80 ตัน แต่ผลกระทบต่อประชากรในท้องถิ่นเป็นอย่างไรนั้น ไม่ทราบทั้งหมดแน่นชัด
ระดับ 7 - อุบัติเหตุรุนแรงที่สุด (Major accident)
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม - มีการปลดปล่อยวัสดุรังสี ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมออกไปเป็นวงกว้าง และต้องบรรลุผลในการรับมือซึ่งมีการวางแผนและจัดเตรียมไว้
หลังเหตุการณ์ที่เชอร์โนบิลและทรีไมลไอส์แลนด์ ทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนามาตรวัดความรุนแรงของอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ ซึ่งมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์นี้ ได้รับการกำหนดขึ้นมาโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ ที่รวมตัวกันครั้งแรกเมื่อปี 1989 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างไอเออีเอและสำนักงานพลังงานนิวเคลียร์หรือเอ็นอี เอ (Nuclear Energy Agency: NEA) ในสังกัดองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือโออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD)
นับแต่นั้น ทางไอเออีเอได้ร่วมมือกับสำนักงานพลังงานนิวเคลียร์ของเอ็นอีเอ พร้อมด้วยการสนับสนุนจากกว่า 70 ประเทศในการกำหนดมาตรานี้ขึ้นมา และมีการปรับปรุงมาตรานี้หลายครั้ง โดยมีประชุมเชิงเทคนิคทุก 2 ปี สำหรับการเข้าร่วมในระบบนี้เป็นไปโดยสมัครใจ ซึ่งตัวแทนประเทศต่างๆ ที่ร่วมกำหนดมาตราวัดความรุนแรงของเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์นี้จะร่วมถกเถียง และตัดสินใจในการประยุกต์ใช้มาตรานี้.
แผ่นดินไหววัดความเสียหาย ได้เป็น “ริกเตอร์” ในกรณีเหตุการณ์นิวเคลียร์ก็มีการวัดระดับความเสียหายไว้เช่นกัน โดยความรุนแรงสูงสุดคือระดับ 7 ซึ่งนอกจากเหตุการณ์ร้ายแรงที่ “เชอร์โนบิล” ญี่ปุ่นยังยกระดับความรุนแรงที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะให้เป็น "ระดับสูงสุด" นี้ด้วย
ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์นิวเคลียร์นั้น วัดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (INES: International Nuclear Event Scale) ซึ่งแบ่งออกเป็น 7 ระดับ
ข้อมูลจากเว็บไซต์ทบวงการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ไอเออีเอ) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) แจกแจงถึงระดับความรุนแรงไว้ดังนี้ ระดับ 1-3 จัดเป็นอุบัติการณ์ (incident) และระดับ 4-7 จัดเป็นอุบัติเหตุ (accident) ส่วนระดับ 0 ลงไปไม่มีนัยที่สำคัญ (no safety significance)
มาตรวัดระดับความรุนแรงนี้ ใช้สำหรับประเมินเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ที่ใช้ทั่วไป และเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารกับประชาชน ในเกณฑ์ที่สอดคล้องกับประเด็นความปลอดภัยของรายงานอุบัติการณ์และอุบัติเหตุ ทางนิวเคลียร์ โดยใช้กับเหตุการณ์ใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทางด้านนิวเคลียร์ ตั้งแต่การขนส่ง การจัดเก็บ และการใช้ประโยชน์จากสารรังสีและแหล่งกำเนิดรังสี แต่มาตรวัดนี้ไม่ใช้กับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ อย่างเช่นการแผ่รังสีของก๊าซเรดอน (radon) เป็นต้น
จากการจัดระดับความรุนแรงตามมาตราดังกล่าว ทำให้เหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด เป็นความรุนแรงที่สุดตามมาตรานี้ และล่าสุดสถานการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ (Fukuchi Daiichi) ได้ยกขึ้นเป็นระดับ 7 เทียบเท่าอุบัติเหตุนิวเคลียร์ร้ายแรงเมื่อ 25 ปีก่อน
ส่วนเหตุการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์ (Three Mile Island) ของสหรัฐฯ ระเบิด จัดเป็นความรุนแรงระดับ 5
สำหรับผลกระทบจากเหตุการณ์นิวเคลียร์ 7 ระดับ ประเมินจากการประเมินผล 3 อย่าง ไล่จากการสูญเสียการป้องกันเชิงลึก (defence in depth degradation) ผลกระทบ ณ สถานที่ตั้งโรงงาน (on-site effect) และ ผลกระทบนอกสถานที่ตั้งโรงงาน (off-site effect)
ระดับ 1 - เหตุผิดปกติ (ของวิปริต )
ผลกระทบต่อการป้องกันเชิงลึก - มีการได้รับรังสีเกินขีดจำกัดประจำปีตามกฎหมายกำหนด, มีปัญหาเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับองค์ประกอบความปลอดภัย แต่ยังมีความสามารถในการป้องกันเชิงลึก และมีการสูญหายหรือเกิดการขโมยอุปกรณ์รังสี ชุดรังสีสำหรับเดินทางหรือแหล่งกำเนิดรังสีในระดับที่ไม่สูงมาก หากแต่การจัดระดับความรุนแรงนี้ก็มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ซึ่งยากที่จะวัดได้ตรงๆ ว่าเหตุผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในระดับ 1 หรือต่ำกว่านั้นซึ่งไม่มีนัยสำคัญ
ระดับ 2 - อุบัติการณ์ (เหตุการณ์ )
ผลกระทบต่อการป้องกันเชิงลึก - มีความผิดพลาดในการจัดเตรียมด้านความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่มีสืบเนื่องตามมา, พบแหล่งกำเนิดรังสีสูงที่ไม่มีเจ้าของ แต่อุปกรณ์ห่อหุ้มไม่ได้รับความเสียหาย, การห่อหุ้มสำหรับวัสดุกำเนิดรังสีสูงไม่เพียงพอ
ผลกระทบ ณ ที่ตั้งโรงงาน - ระดับการแผ่รังสีในบริเวณปฏิบัติงานมากกว่า 50 มิลลิซีเวิร์ตต่อชั่วโมง, มีการปนเปื้อนในบริเวณที่ไม่ควรจะมีการแผ่รังสี
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม - ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรังสีเกิน 10 มิลลิซีเวิร์ต, ผู้ปฏิบัติงานด้านรังสีได้รับรังสีในปริมาณมากกว่าขีดกำจัดประจำปีที่กฎหมาย กำหนด
ระดับ 3 - อุบัติการณ์รุนแรง (Serious incident)
ผลกระทบต่อการป้องกันเชิงลึก - เกิดอุบัติเหตุใกล้ๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยไม่มีมีการเตรียมระวังเรื่องความปลอดภัย, แหล่งกำเนิดรังสีที่ผนึกไว้อย่างดีสูญหายหรือถูกขโมย, ขนส่งแหล่งกำเนิดรังสีสูงผิดพลาด โดยไม่มีกระบวนการรับมือที่ดีพอ
ผลกระทบ ณ ที่ตั้งโรงงาน - มีการปลดปล่อยรังสีในพื้นที่ดำเนินงานมากกว่า 1 ซีเวิร์ตต่อชั่วโมง, มีการปนเปื้อนสูง ในบริเวณที่ไม่ควรจะมีการแผ่รังสี แต่มีโอกาสต่ำที่คนทั่วไปจะได้รับรังสีจากบริเวณดังกล่าว
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม - มีระดับรังสีสูงกว่าที่ขีดจำกัดที่กฎหมายกำหนด สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านรังสี 10 เท่า, การแผ่รังสีส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระดับที่ไม่ทำให้ถึงตาย
ระดับ 4 - อุบัติเหตุที่มีผลกระทบในระดับท้องถิ่น (Accident with local consequences)
ผลกระทบ ณ ที่ตั้งโรงงาน - แท่งเชื้อเชื้อเพลิงหลอมละลายหรือแท่งเชื้อเพลิงได้รับความเสียหายและมีการ ปลดปล่อยสารรังสีปริมาณเล็กน้อย , มีการปลดปล่อยสารรังสีปริมาณสูงภายในพื้นที่และมีโอกาสสูงที่ประชาชนจะได้ รับสารรังสีในปริมาณสูงด้วย
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม - มีการปลดปล่อยสารรังสีในระดับต่ำและต้องวางแผนรับมือ ,มีการควบคุมอาหารในพื้นที่, มีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 1 ราย
ระดับ 5 - อุบัติเหตุพร้อมผลกระทบในวงกว้าง (Accident with wider consequences)
ผลกระทบ ณ ที่ตั้งโรงงาน - เกิดความเสียหายรุนแรงที่แกนปฏิกรณ์, สารรังสีปริมาณมากถูกปล่อยออกมา และมีโอกาสสูงที่จะส่งผลกระทบรุนแรงต่อประชาชน และยกระดับความรุนแรงขึ้นไปอีกหากเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงมากขึ้นหรือเกิด เพลิงไหม้
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม - การจำกัดการปลดปล่อยวัสดุนิวเคลียร์ จำเป็นต้องมีการรับมือที่ได้รับการวางแผนอย่างดี, มีผู้เสียชีวิตหลายรายจากการได้รับรังสี
ระดับ 6 - อุบัติเหตุรุนแรง (Serious accident)
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม - มีการปลดปล่อยสารรังสีออกมาจำนวนมาก และต้องบรรลุผลในการรับมือตามแผน
อุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ระดับนี้ เคยเกิดขึ้นครึ่งหนึ่งกับโรงงานแปรสภาพเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว (nuclear waste reprocessing facility) สำหรับการทหาร ในเมืองมายัค (Mayak) ของอดีตสหภาพโซเวียต เมื่อ 29 ก.ย.1957 ซึ่งเกิดปัญหาระบบทำความเย็นล้มเหลวในโรงงาน ทำให้มีวัสดุรังสีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม 70-80 ตัน แต่ผลกระทบต่อประชากรในท้องถิ่นเป็นอย่างไรนั้น ไม่ทราบทั้งหมดแน่นชัด
ระดับ 7 - อุบัติเหตุรุนแรงที่สุด (Major accident)
ผลกระทบต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม - มีการปลดปล่อยวัสดุรังสี ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมออกไปเป็นวงกว้าง และต้องบรรลุผลในการรับมือซึ่งมีการวางแผนและจัดเตรียมไว้
หลังเหตุการณ์ที่เชอร์โนบิลและทรีไมลไอส์แลนด์ ทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนามาตรวัดความรุนแรงของอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ ซึ่งมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์นี้ ได้รับการกำหนดขึ้นมาโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ ที่รวมตัวกันครั้งแรกเมื่อปี 1989 โดยเป็นความร่วมมือระหว่างไอเออีเอและสำนักงานพลังงานนิวเคลียร์หรือเอ็นอี เอ (Nuclear Energy Agency: NEA) ในสังกัดองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือโออีซีดี (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD)
นับแต่นั้น ทางไอเออีเอได้ร่วมมือกับสำนักงานพลังงานนิวเคลียร์ของเอ็นอีเอ พร้อมด้วยการสนับสนุนจากกว่า 70 ประเทศในการกำหนดมาตรานี้ขึ้นมา และมีการปรับปรุงมาตรานี้หลายครั้ง โดยมีประชุมเชิงเทคนิคทุก 2 ปี สำหรับการเข้าร่วมในระบบนี้เป็นไปโดยสมัครใจ ซึ่งตัวแทนประเทศต่างๆ ที่ร่วมกำหนดมาตราวัดความรุนแรงของเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์นี้จะร่วมถกเถียง และตัดสินใจในการประยุกต์ใช้มาตรานี้.
วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554
บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
แนะสูตรเด็ด 8:8:8 ช่วยบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
|
|
วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554
Solar Farm ม.อุบลฯ
“Solar Farm ม.อุบลฯ” ไร่แห่งความรู้ คู่แดนอีสาน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 เมษายน 2554 04:29 น.
ข่าวโรงงานไฟฟ้า นิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเสียหายจากภัยพิบัติ คงทำให้หลายคนได้ตระหนักว่า พลังงานสะอาดจากธรรมชาตินั้น เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่าหลายเท่า แต่ปัญหา คือ แหล่งเรียนรู้พลังงานทางเลือกที่เปิดโอกาสแบบไม่มีข้อจำกัดให้แก่นักศึกษา ยังขาดแคลน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจึงร่วมกับภาคเอกชน เปิดตัวโครงการ “ไร่พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm)” มุ่งเป้าให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทางเลือกแก่เยาวชน และเป็นต้นแบบแหล่งพลังงานที่สำคัญในอนาคตต่อไป
นายสมชาย เหล่าสายเชื้อ (ซ้าย) เดินชมไร่พลังงานแสงอาทิตย์
โครงการไร่พลังงานแสงอาทิตย์ นับเป็นขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี ที่เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือนเมษายนนี้ โดยนายสมชาย เหล่าสายเชื้อ กรรมการ สนับสนุนกิจการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดเผยว่าไร่พลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งบนพื้นที่กว่า 15 ไร่ ที่อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยกำลังการผลิตขนาด 1 เมกะวัตต์ ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านกระบวนการ Photovoltaic (PV) หรือการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นประจุไฟฟ้าผ่านสารกึ่งตัวนำด้วยแสง อาทิตย์ (Solar Cells) จำนวน 5,000 แผง โดยจะเริ่มจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ในเดือนเมษายน โดยไร่แสงอาทิตย์แห่งนี้จะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิด ภาวะโลกร้อนได้มากกว่า 300 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
“หากในอนาคต ประเทศไทยมีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จริง จังหวัดอุบลราชธานี ก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่เป็นพื้นที่ก่อสร้าง ดังนั้นไร่พลังงานแสงอาทิตย์ ย่อมเป็นทางออก ว่าเราเน้นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้เกิดประโยชน์ เป็นทางออกให้สังคม ว่าถ้าไม่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ เราก็ควรใช้พลังงานจากธรรมชาติ ซึ่งมีมากที่สุดนั่นคือ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งใช้ได้มากมายทั้งแปรรูปอาหาร เพิ่มความร้อน แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าและเป็นโจทย์ที่ศูนย์แห่งนี้ตอบได้ เพราะเราใช้แสงอาทิตย์ มาเป็นพลังงานบริสุทธิ์ เป็นการเสนอทางออกให้ชุมชน จังหวัดว่า ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานนิวเคลียร์”
อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์หลักของโครงการเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ แหล่งการศึกษา แก่นิสิตนักศึกษา ผู้สนใจทั่วไป ทำให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้ามาทำการวิจัยข้อมูลได้ โดยไม่ต้องไปบินดูงานถึงต่างประเทศ
“นอกจากนี้ ด้านจุดเด่นของสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี ก็นับว่าได้เปรียบเพราะภาคอีสานมีปริมาณแสงอาทิตย์เข้มข้น พระอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ทำเลที่ตั้งจึงได้เปรียบ เส้นทางการเดินทางไปสู่ไร่พลังงานแสงอาทิตย์ก็ไม่ไกลจากชุมชน หรือสถานศึกษา ทำให้สามารถเดินทางไปดูงานได้สะดวก” นายสมชาย กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ อินทรประเสริฐ คณบดีคณะ วิทยาศาสตร์ กล่าวถึงโครงการครั้งนี้ ว่าเป็นความร่วมมือระดับมหาวิทยาลัย ลงนามความร่วมมือกับภาคเอกชน โดยมีคณะวิทยาศาสตร์ กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมมือในการทำงานโครงการ
“ปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์ พยายามผลิตโซลาร์เซลล์จากสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นสารที่เราสังเคราะห์ขึ้นมาเอง โดยมีกลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ของสมาคมวิทยาศาสตร์ และใช้สารที่เป็นสารอินทรีย์ทั้งหมด จากที่ส่วนใหญ่ใช้สารอนินทรีย์ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนั้นถ้าเราผลิตโซลาร์เซลล์ดังกล่าวได้ ก็จะทำให้ต้นทุนถูกลง และสามารถเก็บพลังงานงานแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น”
ผศ.ดร.จันทร์เพ็ญ ยังกล่าวถึงการต่อยอดจากโครงการ ว่าเมื่อนักศึกษาในระดับปริญญาโท - เอก สังเคราะห์สารได้ แล้ว ก็นำมาเป็นประโยชน์ได้ เพราะปัจจุบันเราเรียนรู้จากห้องปฏิบัติการ และทำจากในระดับโมเดล เมื่อมีไร่พลังงานแสงอาทิตย์ของจริงให้ศึกษา นักศึกษาย่อมมีโอกาสอันดีที่จะออกไปสู่ภาคสนาม
ส่วน ผศ.ดร.อำไพศักดิ์ ทีบุญมา อาจารย์จากคณะ วิศวกรรมศาสตร์ เปิดเผยถึงความร่วมมือในโครงการว่า มีความร่วมมือเบื้องต้นในกรอบว่า ไร่พลังงานแสงอาทิตย์ จะใช้ประโยชน์อะไรในวงวิชาการให้มากที่สุด จึงวางกรอบว่า ศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ควรมีอะไร และมีข้อจำกัดการเยี่ยมชมหรือไม่
“เรานำเสนอไปยังคณะทำงานว่า ให้สร้างทีวีวงจรปิดด้วย เพื่อให้เป็นการศึกษาแบบเรียลไทม์จากโรงไฟฟ้าจริงๆ ซึ่งจะมีห้องเรียนที่ ม.อุบลฯ สามารถศึกษาจากในมหาวิทยาลัยได้ด้วย และแม้ว่า โซลาร์ ฟาร์ม เทคโนโลยีไม่ได้เป็นของใหม่ แต่การเข้าถึงของจริง หรือการขอเข้าชมดูงานนั้น มีขั้นตอน และพิธีการมาก หรือการเข้าไปแล้วก็ยังขาดคนที่จะมาถ่ายทอดข้อมูล ไร่พลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ จึงทำให้นักศึกษา รวมถึงบุคคลทั่วไปสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล”
ผศ.ดร.อำไพศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ยิ่งไปกว่านั้น นักศึกษายังสามารถเข้าไปวิเคราะห์ หาข้อมูลเพื่อการศึกษา ได้อย่างเต็มที่ หลายที่อาจจะประสบความสำเร็จในการทำโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ แต่การเข้าถึงข้อมูลได้อย่างแท้จริงยังมีวงจำกัด ซึ่งตรงนี้เป็นข้อได้เปรียบของนักศึกษา ที่จะได้ลงพื้นที่ต่อเนื่อง และต่อยอดจากห้องแลป โดยรูปแบบของศูนย์นี้ จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ของจริง เพราะเปิดเผยข้อมูลทุกอย่าง และตอบทุกคำถามที่ให้คำตอบได้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 เมษายน 2554 04:29 น.
ข่าวโรงงานไฟฟ้า นิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นเสียหายจากภัยพิบัติ คงทำให้หลายคนได้ตระหนักว่า พลังงานสะอาดจากธรรมชาตินั้น เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากกว่าหลายเท่า แต่ปัญหา คือ แหล่งเรียนรู้พลังงานทางเลือกที่เปิดโอกาสแบบไม่มีข้อจำกัดให้แก่นักศึกษา ยังขาดแคลน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจึงร่วมกับภาคเอกชน เปิดตัวโครงการ “ไร่พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Farm)” มุ่งเป้าให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานทางเลือกแก่เยาวชน และเป็นต้นแบบแหล่งพลังงานที่สำคัญในอนาคตต่อไป
โครงการไร่พลังงานแสงอาทิตย์ นับเป็นขนาดใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี ที่เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือนเมษายนนี้ โดยนายสมชาย เหล่าสายเชื้อ กรรมการ สนับสนุนกิจการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดเผยว่าไร่พลังงานแสงอาทิตย์ ตั้งบนพื้นที่กว่า 15 ไร่ ที่อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยกำลังการผลิตขนาด 1 เมกะวัตต์ ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านกระบวนการ Photovoltaic (PV) หรือการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นประจุไฟฟ้าผ่านสารกึ่งตัวนำด้วยแสง อาทิตย์ (Solar Cells) จำนวน 5,000 แผง โดยจะเริ่มจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้ในเดือนเมษายน โดยไร่แสงอาทิตย์แห่งนี้จะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิด ภาวะโลกร้อนได้มากกว่า 300 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
“หากในอนาคต ประเทศไทยมีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จริง จังหวัดอุบลราชธานี ก็เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่เป็นพื้นที่ก่อสร้าง ดังนั้นไร่พลังงานแสงอาทิตย์ ย่อมเป็นทางออก ว่าเราเน้นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ให้เกิดประโยชน์ เป็นทางออกให้สังคม ว่าถ้าไม่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ เราก็ควรใช้พลังงานจากธรรมชาติ ซึ่งมีมากที่สุดนั่นคือ พลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งใช้ได้มากมายทั้งแปรรูปอาหาร เพิ่มความร้อน แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าและเป็นโจทย์ที่ศูนย์แห่งนี้ตอบได้ เพราะเราใช้แสงอาทิตย์ มาเป็นพลังงานบริสุทธิ์ เป็นการเสนอทางออกให้ชุมชน จังหวัดว่า ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานนิวเคลียร์”
อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์หลักของโครงการเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ แหล่งการศึกษา แก่นิสิตนักศึกษา ผู้สนใจทั่วไป ทำให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้ามาทำการวิจัยข้อมูลได้ โดยไม่ต้องไปบินดูงานถึงต่างประเทศ
“นอกจากนี้ ด้านจุดเด่นของสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี ก็นับว่าได้เปรียบเพราะภาคอีสานมีปริมาณแสงอาทิตย์เข้มข้น พระอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ทำเลที่ตั้งจึงได้เปรียบ เส้นทางการเดินทางไปสู่ไร่พลังงานแสงอาทิตย์ก็ไม่ไกลจากชุมชน หรือสถานศึกษา ทำให้สามารถเดินทางไปดูงานได้สะดวก” นายสมชาย กล่าวทิ้งท้าย
“ปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์ พยายามผลิตโซลาร์เซลล์จากสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นสารที่เราสังเคราะห์ขึ้นมาเอง โดยมีกลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ของสมาคมวิทยาศาสตร์ และใช้สารที่เป็นสารอินทรีย์ทั้งหมด จากที่ส่วนใหญ่ใช้สารอนินทรีย์ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนั้นถ้าเราผลิตโซลาร์เซลล์ดังกล่าวได้ ก็จะทำให้ต้นทุนถูกลง และสามารถเก็บพลังงานงานแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น”
“เรานำเสนอไปยังคณะทำงานว่า ให้สร้างทีวีวงจรปิดด้วย เพื่อให้เป็นการศึกษาแบบเรียลไทม์จากโรงไฟฟ้าจริงๆ ซึ่งจะมีห้องเรียนที่ ม.อุบลฯ สามารถศึกษาจากในมหาวิทยาลัยได้ด้วย และแม้ว่า โซลาร์ ฟาร์ม เทคโนโลยีไม่ได้เป็นของใหม่ แต่การเข้าถึงของจริง หรือการขอเข้าชมดูงานนั้น มีขั้นตอน และพิธีการมาก หรือการเข้าไปแล้วก็ยังขาดคนที่จะมาถ่ายทอดข้อมูล ไร่พลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ จึงทำให้นักศึกษา รวมถึงบุคคลทั่วไปสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)