“ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน” ความงามที่ทรงคุณค่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 กันยายน 2556 13:46 น.
“ดอกราชพฤกษ์” (Ratchaphruek) ดอกไม้ประจำชาติไทย
ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ “อาเซียน” (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) นั้น ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ เมียนมาร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน โดยในแต่ละประเทศนั้นมีสัญลักษณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สกุลเงิน สถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรม สัตว์ประจำชาติ หรือกระทั่งดอกไม้ เป็นตัวบ่องบอกถึงความแตกต่างของแต่ละประเทศ
ซึ่ง “ดอกไม้” ก็ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่สามารถบ่งบอกได้ถึงเอกลักษณ์ หรือความแตกต่างของแต่ละประเทศได้ และเพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ ในประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนมากขึ้น ก่อนการเข้าสู่เออีซี ในปี พ.ศ.2558 เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับดอกไม้ประจำชาติ ทั้ง 10 ประเทศมาฝากกัน
ประเทศไทย
“ดอกราชพฤกษ์” (Ratchaphruek) หรือดอกคูณ มีสีเหลืองสวยสง่างาม เป็นสัญลักษณ์แห่งความมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และสีเหลืองยังเป็นสีแห่งพระพุทธศาสนาและความรุ่งโรจน์ ที่แสดงให้เห็นถึงการยึดมั่นในการทำความดี รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย
“ดอกประดู่” (Paduak) แห่งประเทศเมียนมาร์
เมียนมาร์
“ดอกประดู่” (Paduak) พม่าเรียกว่าบะเด้าปาน เป็นดอกไม้ที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศ มีลักษณะเป็นสีเหลืองทอง เป็นดอกไม้แห่งเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่พม่า ในช่วงเทศกาลนี้ชาวพม่าจะเอาดอกประดู่มาเสียบผม ติดหน้ารถ ประดับบ้าน ฯลฯ นอกจากนี้แล้วดอกประดู่ยังถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความแข็งแรงทนทาน และยังเป็นดอกไม้ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
“กล้วยไม้แวนด้า” (Vanda Miss Joaquim) สิงคโปร์
สิงคโปร์
“กล้วยไม้แวนด้า” (Vanda Miss Joaquim) ตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim เป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีลักษณะสีม่วงสด เติบโตเร็ว และทนกับสิ่งแวดล้อม เปรียบเหมือนชาวสิงคโปร์ ที่ไม่ว่าจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ก็สามารถเติบโตได้ในทุกที่
“ดอกส้านชวา” หรือดอก “ชิมเปอร์” ดอกไม้ประเทศบรูไน
บรูไน
“ดอกส้านชวา” (Dillenia) หรือดอก “ชิมเปอร์” (Simpor) เป็นดอกไม้กลางแจ้ง เป็นไม้ปลูกได้ยาก มีกลีบดอกใหญ่สีเหลืองสด หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล จะพบดอกชิมเปอร์ได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมือง
“ดอกลำดวน” (Rumdul) ดอกไม้ประเทศกัมพูชา
กัมพูชา
“ดอกลำดวน” (Rumdul) เป็นดอกไม้สีขาวหรือเหลืองนวล กลีบดอกมีลักษณะหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็น ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้ที่เป็นตัวแทนถึงสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้องคือปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ
“ดอกกล้วยไม้ราตรี” (Moon Orchid) ประเทศอินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย
“ดอกกล้วยไม้ราตรี” (Moon Orchid) เป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อของดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นานถึง 2 - 6 เดือน โดยจะบานปีละ 2 - 3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย
“ดอกชบา” หรือ “พู่ระหง” ประเทศมาเลเซีย
มาเลเซีย
“ดอกชบา” หรือ “พู่ระหง” (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นทั่วไปใช้ว่า บุหงา รายอ มีลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก เป็นดอกไม้แห่งความสูงส่งและสง่างาม ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ
“ดอกพุดแก้ว” (Sampaguita Jasmine) ประเทศฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์
“ดอกพุดแก้ว” (Sampaguita Jasmine) เป็นดอกไม้สีขาว กลีบดอกเป็นรูปดาว จะส่งกลิ่นหอมในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งของชาวฟิลิปปินส์
“ดอกบัว” (Lotus) ดอกไม้แห่งเวียดนาม
เวียดนาม
“ดอกบัว” (Lotus) เป็นที่รู้จักกันในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” เป็ญสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี เป็น 1 ใน 4 พันธุ์ไม้แห่งความสง่างาม อีกทั้งยังเป็นดอกไม้แห่งความอดทนและเป็นปึกแผ่น
“จำปาลาว” หรือ “ดอกลีลาวดี” ประเทศลาว
ลาว
“จำปาลาว” หรือ “ดอกลีลาวดี” (Champa) เป็นดอกไม้ที่มีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายพิธีสำคัญต่างๆ อีกทั้งยังใช้เป็นพวงมาลัยต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่สำคัญ
และทั้งหมดนี้ก็เป็นดอกไม้ประจำชาติของแต่ละประเทศในสมาชิกประชาคมอาเซียน ที่นอกจากจะสวยงามแล้ว ยังมีคุณค่า และมีความหมายอีกด้วย
วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556
สัตว์ประจำชาติอาเซียน
รู้จัก “สัตว์ประจำชาติอาเซียน” ก่อนก้าวเข้าสู่เออีซี ดูภาพชุดจาก Manager Multimedia
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กันยายน 2556 15:04 น.
“ช้าง” สัตว์ประจำชาติไทย
ในปี พ.ศ. 2558 ก็จะก้าวสู่การเปิดประตูเข้าสู่สมาคมอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราจึงต้องเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ของประเทศในประชาคมอาเซียนในด้านต่างๆ โดยวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับสัตว์ประจำชาติอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
ประเทศที่เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนมีด้วยกันอยู่ 10 ประเทศ ประกอบไปด้วย ไทย ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน ส่วนประเทศไหนจะมีสัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ประจำชาติกันบ้างนั้น ตามไปอ่านกันเลย
“เสือ” สัตว์ประจำชาติของประเทศเมียนมาร์
“ประเทศไทย”
“ช้าง” เป็นสัตว์ประจำชาติไทย ช้างถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากคนไทยมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับช้างมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ครั้งหนึ่งบนธงชาติไทยก็เคยมีรูปช้างปรากฎอยู่บนผืนธงสีแดง กระทั่งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มีมติเห็นชอบประกาศให้วันที่ 13 มีนาคมของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ช้างไทย เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญและการดำรงอยู่ของช้างไทย
“มังกรโคโมโด” สัตว์ประจำชาติอินโดนีเซีย
“เมียนมาร์”
“เสือ” เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศเมียนมาร์ ลักษณะของเสือสามารถบ่งบอกได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศเมียนมาร์
“อินโดนีเซีย”
“มังกรโคโมโด” เป็นสัตว์ประจำชาติอินโดนีเซีย มังกรโคโมโดเป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า (มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) มังกรโคโมโดถือเป็นสัตว์เลื้อยคลานใกล้สูญพันธุ์ สามารถพบได้เฉพาะบนเกาะโคโมโด (Komodo Island) ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ เนื่องจากเป็นเกาะภูเขาไฟกลางทะเล
“กระบือ” สัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์
“ฟิลิปปินส์”
“กระบือ” เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ กระบือในภาษาตากาล็อกเรียกว่า คาราบาว สำหรับในประเทศฟิลิปปินส์เลี้ยงกระบือเพื่อใช้แรงงานในไร่นา หรือใช้สำหรับการชักลากซุงออกจากป่า โดยลักษณะนิสัยพฤติกรรมของกระบือนั้น เมื่อว่างเว้นจากการถูกใช้งานมักจะชอบนอนแช่น้ำหรือแช่ปลักโคลนเพื่อเป็นการผ่อนคลายความร้อนของร่างกาย
“เสือโคร่ง” สัตว์ประจำชาติบรูไน
“บรูไน”
“เสือโคร่ง” เป็นสัตว์ประจำชาติบรูไน เสือโคร่งหรือเสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จัดเป็นสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris ในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดด้วย (ขณะที่บางข้อมูลว่า บรูไน ไม่มีสัตว์ประจำชาติ)
“เสือมลายู” สัตว์ประจำชาติมาเลเซีย
“มาเลเซีย”
“เสือมลายู” เป็นสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย เสือมลายูมีถิ่นฐานอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู โดยจะเห็นสัญลักษณ์ของเสือมลายูได้จากบนตราแผ่นดินของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นการแสดงถึงพละกำลังและความกล้าหาญของชาวมาเลเซีย อีกทั้งยังใช้เป็นชื่อเล่นของฟุตบอลทีมชาติมาเลเซียอีกด้วย
“กูปรี” หรือ “โคไพร” สัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา
“กัมพูชา”
“กูปรี” หรือ “โคไพร” เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา (เจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชาทรงประกาศให้กูปรีเป็นสัตว์ประจำชาติของกัมพูชา) กูปรีเป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งอาจมากถึง 20 ตัว กูปรีจัดว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบเห็นได้ยากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก พบได้ทางเหนือของประเทศกัมพูชา ทางใต้ของลาว ทางตะวันตกของเวียดนาม และทางตะวันออกของไทย ปัจจุบันไม่มีการรายงานการพบมานานแล้ว เชื่อว่าอาจจะยังพอมีหลงเหลืออยู่ในชายแดนไทยกับกัมพูชาแถบจังหวัดศรีสะเกษ ราวปี พ.ศ. 2507 มักจะมีข่าวว่าพบสัตว์ลักษณะคล้ายกูปรีอยู่บ่อยๆ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่น่าเชื่อถือพอ นอกจากคำเล่าลือเท่านั้น
“ช้าง” สัตว์ประจำชาติประเทศลาว
“ลาว”
“ช้าง” เป็นสัตว์ประจำชาติประเทศลาว ช้างถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความผูกพันกับชาวลาวเป็นอย่างยิ่ง ในอดีตลาวได้รับการเรียกขานว่าเป็นเมืองล้านช้าง แต่ปัจจุบันประชากรช้างในลาวอยู่ในภาวะวิกฤต รัฐบาลลาวจึงได้ฟื้นฟูและอนุรักษ์ช้างลาวไว้ โดยการจัดงานบุญช้างขึ้นเป็นประจำทุกปี
“เวียดนาม”
“กระบือ” หรือควาย เป็นสัตว์ประจำชาติประเทศเวียดนาม สามารถพบเห็นได้ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม
“กระบือ” สัตว์ประจำชาติประเทศเวียดนาม
“สิงคโปร์”
“สิงโต” เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อประเทศ มาจากคำว่า สิงหปุระ (Singapura) เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงเมืองแห่งสิงโต ตามตำนานเล่าขานเจ้าผู้ครองนครแห่งปาเล็มบัง ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย ได้ออกเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือสิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเกาะแห่งนั้นเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ซึ่งจริงๆ แล้วสัตว์ชนิดนั้นอาจเป็นเสือ เพราะไม่มีหลักฐานว่ามีการพบสิงโตบนเกาะมาก่อน แต่ประเทศสิงคโปร์และสิงโตก็มีความเกี่ยวข้องกันนับจากนั้นเป็นต้นมา
ปัจจุบันบนตราแผ่นดินสิงคโปร์ มีสิงโตปรากฏอยู่เคียงคู่กับเสือโคร่ง โดยสิงโตด้านขวานั้นแทนประเทศสิงคโปร์ ส่วนเสือโคร่งด้านซ้ายนั้นแทนประเทศมาเลเซียแสดงถึงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ของเกาะสิงคโปร์กับมาเลเซีย โดยสิงโตนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนความกล้าหาญ พละกำลังและความดีเลิศ
“สิงโต” สัตว์ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์
นี่ก็เป็นสัตว์ประจำชาติของแต่ละประเทศในประชาคมอาเซียน จะเห็นได้ว่าบางประเทศอาจเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน แต่แตกต่างด้วยที่มาและความหมาย ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็สามารถบ่งบอกถึงสัญลักษณ์แต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กันยายน 2556 15:04 น.
“ช้าง” สัตว์ประจำชาติไทย
ในปี พ.ศ. 2558 ก็จะก้าวสู่การเปิดประตูเข้าสู่สมาคมอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราจึงต้องเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ของประเทศในประชาคมอาเซียนในด้านต่างๆ โดยวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับสัตว์ประจำชาติอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
ประเทศที่เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนมีด้วยกันอยู่ 10 ประเทศ ประกอบไปด้วย ไทย ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน ส่วนประเทศไหนจะมีสัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ประจำชาติกันบ้างนั้น ตามไปอ่านกันเลย
“เสือ” สัตว์ประจำชาติของประเทศเมียนมาร์
“ประเทศไทย”
“ช้าง” เป็นสัตว์ประจำชาติไทย ช้างถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากคนไทยมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับช้างมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ครั้งหนึ่งบนธงชาติไทยก็เคยมีรูปช้างปรากฎอยู่บนผืนธงสีแดง กระทั่งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มีมติเห็นชอบประกาศให้วันที่ 13 มีนาคมของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ช้างไทย เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญและการดำรงอยู่ของช้างไทย
“มังกรโคโมโด” สัตว์ประจำชาติอินโดนีเซีย
“เมียนมาร์”
“เสือ” เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศเมียนมาร์ ลักษณะของเสือสามารถบ่งบอกได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศเมียนมาร์
“อินโดนีเซีย”
“มังกรโคโมโด” เป็นสัตว์ประจำชาติอินโดนีเซีย มังกรโคโมโดเป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า (มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) มังกรโคโมโดถือเป็นสัตว์เลื้อยคลานใกล้สูญพันธุ์ สามารถพบได้เฉพาะบนเกาะโคโมโด (Komodo Island) ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ เนื่องจากเป็นเกาะภูเขาไฟกลางทะเล
“กระบือ” สัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์
“ฟิลิปปินส์”
“กระบือ” เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ กระบือในภาษาตากาล็อกเรียกว่า คาราบาว สำหรับในประเทศฟิลิปปินส์เลี้ยงกระบือเพื่อใช้แรงงานในไร่นา หรือใช้สำหรับการชักลากซุงออกจากป่า โดยลักษณะนิสัยพฤติกรรมของกระบือนั้น เมื่อว่างเว้นจากการถูกใช้งานมักจะชอบนอนแช่น้ำหรือแช่ปลักโคลนเพื่อเป็นการผ่อนคลายความร้อนของร่างกาย
“เสือโคร่ง” สัตว์ประจำชาติบรูไน
“บรูไน”
“เสือโคร่ง” เป็นสัตว์ประจำชาติบรูไน เสือโคร่งหรือเสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จัดเป็นสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris ในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดด้วย (ขณะที่บางข้อมูลว่า บรูไน ไม่มีสัตว์ประจำชาติ)
“เสือมลายู” สัตว์ประจำชาติมาเลเซีย
“มาเลเซีย”
“เสือมลายู” เป็นสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย เสือมลายูมีถิ่นฐานอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู โดยจะเห็นสัญลักษณ์ของเสือมลายูได้จากบนตราแผ่นดินของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นการแสดงถึงพละกำลังและความกล้าหาญของชาวมาเลเซีย อีกทั้งยังใช้เป็นชื่อเล่นของฟุตบอลทีมชาติมาเลเซียอีกด้วย
“กูปรี” หรือ “โคไพร” สัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา
“กัมพูชา”
“กูปรี” หรือ “โคไพร” เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา (เจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชาทรงประกาศให้กูปรีเป็นสัตว์ประจำชาติของกัมพูชา) กูปรีเป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งอาจมากถึง 20 ตัว กูปรีจัดว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบเห็นได้ยากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก พบได้ทางเหนือของประเทศกัมพูชา ทางใต้ของลาว ทางตะวันตกของเวียดนาม และทางตะวันออกของไทย ปัจจุบันไม่มีการรายงานการพบมานานแล้ว เชื่อว่าอาจจะยังพอมีหลงเหลืออยู่ในชายแดนไทยกับกัมพูชาแถบจังหวัดศรีสะเกษ ราวปี พ.ศ. 2507 มักจะมีข่าวว่าพบสัตว์ลักษณะคล้ายกูปรีอยู่บ่อยๆ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่น่าเชื่อถือพอ นอกจากคำเล่าลือเท่านั้น
“ช้าง” สัตว์ประจำชาติประเทศลาว
“ลาว”
“ช้าง” เป็นสัตว์ประจำชาติประเทศลาว ช้างถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความผูกพันกับชาวลาวเป็นอย่างยิ่ง ในอดีตลาวได้รับการเรียกขานว่าเป็นเมืองล้านช้าง แต่ปัจจุบันประชากรช้างในลาวอยู่ในภาวะวิกฤต รัฐบาลลาวจึงได้ฟื้นฟูและอนุรักษ์ช้างลาวไว้ โดยการจัดงานบุญช้างขึ้นเป็นประจำทุกปี
“เวียดนาม”
“กระบือ” หรือควาย เป็นสัตว์ประจำชาติประเทศเวียดนาม สามารถพบเห็นได้ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม
“กระบือ” สัตว์ประจำชาติประเทศเวียดนาม
“สิงคโปร์”
“สิงโต” เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อประเทศ มาจากคำว่า สิงหปุระ (Singapura) เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงเมืองแห่งสิงโต ตามตำนานเล่าขานเจ้าผู้ครองนครแห่งปาเล็มบัง ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย ได้ออกเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือสิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเกาะแห่งนั้นเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ซึ่งจริงๆ แล้วสัตว์ชนิดนั้นอาจเป็นเสือ เพราะไม่มีหลักฐานว่ามีการพบสิงโตบนเกาะมาก่อน แต่ประเทศสิงคโปร์และสิงโตก็มีความเกี่ยวข้องกันนับจากนั้นเป็นต้นมา
ปัจจุบันบนตราแผ่นดินสิงคโปร์ มีสิงโตปรากฏอยู่เคียงคู่กับเสือโคร่ง โดยสิงโตด้านขวานั้นแทนประเทศสิงคโปร์ ส่วนเสือโคร่งด้านซ้ายนั้นแทนประเทศมาเลเซียแสดงถึงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ของเกาะสิงคโปร์กับมาเลเซีย โดยสิงโตนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนความกล้าหาญ พละกำลังและความดีเลิศ
“สิงโต” สัตว์ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์
นี่ก็เป็นสัตว์ประจำชาติของแต่ละประเทศในประชาคมอาเซียน จะเห็นได้ว่าบางประเทศอาจเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน แต่แตกต่างด้วยที่มาและความหมาย ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็สามารถบ่งบอกถึงสัญลักษณ์แต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)