โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 28 พฤษภาคม 2553 01:02 น. |
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ |
ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ชาติ (สวทช.) กล่าวในการเสวนา “ตอบทุกคำถามสังคมไทยที่กังวลต่อ การล่มสลายของโลก” เมื่อวันที่ 25 พ.ค.53 ณ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าวิทยาศาสตร์จอมปลอมนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัวกว่าไสยศาสตร์ เหมือนเราเห็นคนใส่ชุดกราวน์ในโรงพยายาลย่อมเข้าใจว่าเป็นหมอ เป็นของปลอมที่ปนมากับเสื้อคลุมของนักวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์จอมปลอมมีหลายระดับ ตั้งแต่ การเข้าใจแนวคิด วิทยาศาสตร์แบบผิดๆ (Misconception) บางครั้งเป็นการจับแพะชนแกะ ซึ่งเมื่อฝังรากลึกทำให้กลายเป็นมายาคติ (Myth) ถัดมาคือวิทยา ศาสตร์เทียม (pseudo-science) ซึ่งเป็นระบบความคิด ที่อ้างว่าเป็นวิทยาศาสตร์ เช่น โหราศาสตร์ซึ่งมีการเคลื่อนที่ของดวงดาวจริง แต่มีการตีความที่ไม่ใช่หลักสถิติ และรุนแรงสุดคือการหลอกลวงต้ม ตุ๋น (Fraud)
ทั้งนี้ กลยุทธ์ในการเผยแพร่วิทยาศาสตร์จอมปลอมนั้น มักเป็นรูปแบบเดิมๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 7 กลยุทธ์ คือ
1.นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือลัทธิความเชื่อที่มีมีผู้คนสนใจจำนวนมาก โดยอ้างว่าสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ใช้ศัพท์วิทยาศาสตร์ฟังยาก นำคำศัพท์ ทฤษฎีและผลลัพธ์ทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างสับสน
2.สร้างความน่าเชื่อถือด้วยการอ้างหลักฐานสนับสนุน เช่น ได้รับสิทธิบัตร ทั้งๆ ที่สิทธิบัตรคือการอ้างของผู้ขอว่าสิ่งที่ยื่นจดนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งเราต้องถามว่าสิทธิบัตรที่ได้รับนั้น “อ้างอะไร”
3.ใช้การสาธิตเพื่อโน้มน้าว เช่น สาธิตน้ำมันชนิดใหม่โดยขับรถยนต์ทดสอบ 200-300 เมตร แต่การทดสอบน้ำมันจริงๆ ต้องวิ่งไกล 120,000 กิโลเมตร
4.อ้างความสำเร็จโดยอิงเรื่องเล่าหรือประสบการณ์
5.อ้างบุคคลที่กลุ่มเป้าหมายให้การยอมรับ
6.อิงความเชื่อที่ยึดถือกันทั่วไป เช่น ความเชื่อว่าเครื่องมือที่ดูไฮเทคและมีราคาแพงนั้นน่าจะใช้งานได้ดี เป็นต้น
และ 7.ตอบโต้ข้อวิพากษ์วิจารณ์โดยมุ่งโจมตีบุคคล แทนที่จะตอบโต้ด้วยหลักวิชาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น