"ไอ้เท่ง" ติดท็อป 10 สุดยอดการค้นพบสปีชีส์ใหม่ของโลก แห่งปี 2009
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ | 25 พฤษภาคม 2553 16:17 น. |
| สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ของโลกที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น 10 สุดยอดการค้นพบ สปีชีส์ใหม่แห่งปี 2009 (ภาพจาก IISE) | |
|
นานาชาติยก "ไอ้เท่ง" ทากทะเลชนิดใหม่ของโลก ที่พบในไทยให้ติด 1 ใน 10 สุดยอดการค้นพบสปีชีส์ใหม่แห่งปี 2009 พร้อมกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงยักษ์ในฟิลิปปินส์ แมงมุมสีทองจากมาดากัสการ์ จากหลายพันสปีชีส์ที่มีรายงานการค้นพบในปีเดียวกันสถาบันนานาชาติเพื่อการสำรวจสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ หรือไอไอเอสอี (
International Institute for Species Exploration: IISE) มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต (
Arizona State University) สหรัฐอเมริกา และคณะกรรมการนักอนุกรมวิธานนานาชาติ ไดัคัดเลือกสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่จากทั่วโลกกว่าหลายพันสปีชีส์ให้เหลือเพียง 10 สปีชีส์ เพื่อขึ้นบัญชีสุดยอดการค้นพบสปีชีส์ใหม่แห่งปี 2009 ซึ่งได้มีการประกาศผลการคัดเลือกไปเมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพพอดี และมีสปีชีส์ใหม่ที่พบในไทยได้ติดอันดับโลกด้วย
"คณะกรรมการตัดสินแต่ละคนมีอิสระในการคัดเลือกและกำหนดเกณฑ์การ ตัดสินของตัวเองจากคุณลักษณะที่แปลกใหม่หรือความจริงที่น่าประหลาดใจ รวมไปถึงชื่ออันแปลกประหลาดของสปีชีส์นั้นๆ" เควนติน วีลเลอร์ (Quentin Wheeler) ผู้อำนวยการสถาบันไอไอเอสอี และนักกีฏวิทยาจากสถาบันชีววิทยาศาสตร์ (School of Life Sciences) เผยไว้ในไลฟ์ไซน์ด็อตคอม
ทั้งนี้ การจัดอันดับ 10 สุดยอดการค้นพบสปีชีส์ใหม่แห่งปี 2009 ในปีนี้นับเป็นปีที่ 3 แล้ว ซึ่งในจำนวนนั้นมี "ทากทะเล" ชนิดใหม่ของโลก ที่ค้นพบในประเทศไทยรวมอยู่ด้วย โดยสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ทั้ง 10 สปีชีส์ มีดังนี้ (ไม่เรียงอันดับ)
| แมงมุมสีทองสปีชีส์ ใหม่ที่พบบนเกาะมาดาร์กัสการ์ เป็นแมงมุมสีทองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และสามารถถัก ทอใยแมงมุมได้ใหญ่กว่า 1 เมตร (ภาพจาก IISE) | |
|
1. แมงมุมสีทองของโคแมค (Komac's golden orb spider) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
เนฟิลา โคมาชิ (
Nephila komaci) เป็นสปีชีส์แรกในสกุลเนฟิลาที่ถูกกล่าวขานถึงมาตั้งแต่เมื่อปี 1879 แต่เพิ่งจำแนกได้ว่าเป็นแมงมุมสปีชีส์ใหม่ตามหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และได้ รับการตีพิมพ์รายงานการค้นพบเมื่อปี 2009 โดย เอ็ม คุนต์เนอร์ (M. Kuntner) นักวิจัยของสถาบันชีววิทยาแห่งวิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์สโลวีเนียน (Institute of Biology of the Slovenian Academy of Sciences and Arts) และ โจนาธาน คอดดิงตัน (Jonathan Coddington) นักวิทยาศาสตร์จากพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาสมิธโซเนียน (Smithsonian's National Museum of Natural History)
แมงมุมชนิดนี้สามารถถักทอใยแมงมุมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่า 1 เมตร โดยที่แมงมุมตัวเมียที่สร้างใยขึ้นมานั้นเมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดยาวประมาณ 3.8-4.0 เซนติเมตรเท่านั้น ขณะที่แมงมุมตัวผู้มีขนาดเพียง 0.8-09 เซนติเมตร หรือเล็กกว่าราว 5 เท่า มีถิ่นอาศัยอยู่ในมาดากัสการ์ ซึ่งคุนต์เนอร์ตั้งชื่อสปีชีส์ให้ว่า
โคมาชิ เพื่อรำลึกถึงแอนเดรจ โคแมค (Andrej Komac) นักวิทยาศาสตร์ผู้ที่เป็นเพื่อนรักที่สุดของเขาที่ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ในระหว่างที่พวกเขากำลังศึกษาวิจัยแมงมุมชนิดนี้
| ปลาแดร็กคูลา ตัวเล็กจิ๋ว แต่มีเขี้ยวยาวคล้ายค้างคาว ดูดเลือดในตำนาน (ภาพจาก IISE) | |
|
2. ปลาแดร็กคูลา (Dracula fish) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
แดนิโอเนลลา แดร็กคูลา (
Danionella dracula) เป็นปลาน้ำจืดที่พบในแม่น้ำ Sha Du Zup รัฐคะฉิ่น สหภาพพม่า ตัวผู้มีเขี้ยวยาวแหลมคมคล้ายสุนัขหรือค้างคาวดูดเลือดในตำนาน และนี่ยังเป็นการรายงานการค้นพบอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายฟัน (oral teeth-like structures) ของสัตว์ในวงศ์ไซพรินิเด (Cyprinidae) หรือวงศ์ปลาตะเพียน ซึ่งเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
| ฟองน้ำเพชฌฆาต ฟองน้ำสปีชีส์ใหม่ที่มีโครงสร้างแตกต่างจากฟองน้ำ ชนิดอื่นๆ (ภาพจาก IISE) | |
|
3. ฟองน้ำเพชฌฆาต (killer sponge) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
คอนโดรคลาเดีย (
เมลิเดอร์มา)
เทอร์บิฟอร์มิส [
Chondrocladia (
Meliiderma)
turbiformis] อยู่ในวงศ์คลาโดไรซิเด (Cladorhizidae) เป็นวงศ์ฟองน้ำในทะเลลึกที่กินสัตว์เป็นอาหาร มีความหลากหลายสูง พบในทะเลเปิดทั่วไป โดยเฉพาะในมหาสมุทรแปซิฟิก พบครั้งแรกในประเทศนิวซีแลนด์ มีลักษณะพิเศษคือโครงสร้างส่วนของสปิคูลไม่เหมือนฟองน้ำชนิดอื่น (เป็นแบบ trochirhabd spicule)
| "ไอ้เท่ง" ทากทะเลสปีชีส์ใหม่ของโลกพบที่ป่าชายเลนในปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช มีตัวสีดำและหน้าตาละม้ายคล้ายกับ "ไอ้เท่ง" ตัวละคร ในหนังตะลุงของปักษ์ใต้บ้านเรา (ภาพจาก IISE) | |
|
4. ไอ้เท่ง (Aiteng) เป็นทากทะเลสปีชีส์ใหม่และวงศ์ใหม่ของโลกด้วย โดยจัดอยู่ในวงศ์ไอเทงกิเด (Aitengidae) ถูกค้นพบเมื่อปี 2009 บริเวณร่องน้ำในป่าชายเลนที่อ่าวปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช โดยทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่นำโดย ดร. ซี สเวนเนน (Dr. C.Swennen) นักวิจัยจากประเทศเนเธอร์แลนด์ และนายสมศักดิ์ บัวทิพย์ นักวิทยาศาสตร์ จากแผนกชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ไอ้เท่งมีขนาดประมาณ 6-17 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีดำ กินแมลงในระยะดักแด้เป็นอาหาร ซึ่งแตกต่างจากทากทะเลวงศ์อื่นๆ ที่มักกินสาหร่ายเป็นอาหาร สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ คล้ายกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั่วๆไป ซึ่งความพิเศษนี้พบได้น้อยมากในทากทะเลที่มีการค้นพบหรือมีการศึกษาอยู่แล้ว ในปัจจุบัน และทีมวิจัยได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้ว่า
ไอเทง เอเตอร์ (
Aiteng ater) ซึ่งชื่อสกุล
Aiteng ตั้งตามจากชื่อตัวหนังตะลุงของปักษ์ใต้ที่ชื่อ "ไอ้เท่ง" ที่มีลักษณะตัวสีดำและมีตาคล้ายกับสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ ส่วนชื่อสปีชีส์
ater มาจากภาษาลาติน หมายถึง สีดำ (ข้อมูลจากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)
| ตัวระเบิดเขียว หนอนทะเลชนิดใหม่ สร้างระเบิดเรืองแสงสีเขียวได้ไว้ ป้องกันตัวเอง (ภาพจาก IISE) | |
|
5. ระเบิดเขียว (Green bombers) พบที่อ่าวมอนเตอเรย์ (Monterey Bay) มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
สวิมา บอมบิวิริดิส (
Swima bombiviridis) เป็นหนอนทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถทิ้งระเบิดเรืองแสงสีเขียวที่ดัดแปลงมา จากอวัยวะส่วนเหงือกเพื่อป้องกันตัวเองจากศัตรูคู่อาฆาต
| ปลากบไซเดลิกา ปลากบสปีชีส์ใหม่ หน้าแบนราบ มีสีสันลวดลาย ชวนเวียนหัว (ภาพจาก IISE) | |
|
6. ปลากบไซเซเดลิกา (Psychedelic frogfish) หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
ฮิสทิโอฟไรน์ ไซเซเดลิกา (
Histiophryne psychedelica) ซึ่งเป็นปลากบที่มีรูปลักษณ์อันน่าพิศวงงงงวยที่ดูแล้วชวนประสาทหลอน และมีใบหน้าแบนราบแตกต่างจากปลากบชนิดอื่นๆ พบครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย
| ปลาไฟฟ้าที่นักวิทยา ศาสตร์ใช้เป็นต้นแบบศึกษาการสร้างกระแสไฟฟ้า ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต (ภาพจาก IISE) | |
|
7. ปลาไฟฟ้า (Electric fish หรือ Omars' banded knifefish) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
จิมโนตัส โอมาโรรัม (
Gymnotus omarorum) พบในประเทศอุรุกวัยซึ่งตั้งชื่อตามของ โอมาร์ มาคาดาร์ (Omar Macadar) และโอมาร์ ทรูจิลโล-เคนอซ (Omar Trujillo-Cenoz) สองนักวิทยาศาสตร์ผู้ริเริ่มศึกษาการสร้างกระแสไฟฟ้าของปลาในสกุลจิมโนตัส ซึ่งปลาสปีชีส์นี้ถูกใช้เป็นต้นแบบในการศึกษาเกี่ยวกับสรีรวิทยาและการสื่อ สารด้วยกระแสไฟฟ้ามาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยก่อนหน้านั้นนักวิทยาศาสตร์ในอุรุกวัยเคยอ้างผิดว่าเป็นปลาสปีชีส์
จิ มโนตัส คาราโป (
Gymnotus carapo)
| หม้อข้าวหม้อแกงลิง ของแอทเทนเบอเรอห์ เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ที่ใหญ่ที่สุดและใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (ภาพจาก IISE) | |
|
8. หม้อข้าวหม้อแกงลิงของแอทเทนเบอเรอห์ (Attenborough's Pitcher) ซึ่งเป็นพืชกินแมลงในกลุ่มหม้อข้าวหม้อแกงลิงสปีชีส์ใหม่ และที่มีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 30x16 เซนติเมตร หรือประมาณลูกอเมริกันฟุตบอล พบบนยอดเขาวิคตอเรีย (Mount Victoria) บนเกาะพาลาวัน ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
เนเพนธีส แอทเทนเบอเรอห์อี (
Nepenthes attenboroughii) ตั้งตามชื่อของเซอร์เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ (Sir David Attenborough) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษและผู้นำเสนอข่าวสารความรู้ด้านธรรมชาติวิทยาผ่าน สื่อโทรทัศน์ของอังกฤษมาเป็นเวลาหลายสิบปี และเป็นพืชถิ่นเดียวที่คณะกรรมการมีความเห็นว่าพืชสปีชีส์ใหม่ชนิดนี้ควรได้ รับการขึ้นบัญชีเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่งด้วย
| หัวมันแองโกนา พบบนเกาะมาดากัสการ์ มีลักษณะแปลกประหลาดเป็นพวง คล้ายนิ้วมือ จัดเป็นพืชอีกชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (ภาพจาก IISE) | |
|
9. หัวมันประหลาดแองโกนา (Angona) พบบนเกาะมาดากัสการ์ เป็นหัวมันที่กินได้ มีลักษณะเป็นพวงคล้ายนิ้วมือ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
ไดออสโคเรีย ออเรนจีอานา (
Dioscorea orangeana) และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง เพราะถูกประชาชนเก็บเกี่ยวไปเป็นอาหารจำนวนมากโดยที่ไม่ได้มีการอนุรักษ์ ถิ่นกำเนิดเอาไว้
| เห็ดฟัลลิก ลักษณะละม้ายคล้ายกับอวัยวะเพศชาย (ภาพจาก IISE) | |
|
10. เห็ดฟัลลิก (Phallic mushroom) เป็นเห็ดสปีชีส์ใหม่ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายอวัยวะเพศชาย มีขนาดยาวประมาณ 5 เซนติเมตร พบบนเกาะเซาตูเม (São Tome) ในแอฟริกา ได้รับการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
ฟัลลัส ดรูเวสซี (
Phallus drewesii) เพื่อเป็นเกียรติแก่ ดร.โรเบิร์ต ดรูเวส (Dr. Robert Drewes) นักวิทยาศาสตร์สถาบันวิทยาศาสตร์แห่งแคลิฟอร์เนีย (California Academy of Sciences) ผู้อุทิศตนให้กับการศึกษาความความหลากหลายทางชีวภาพในแอฟริกาเป็นเวลา มากกว่า 30 ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น