วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2566

 

7 ประเภทแบตเตอรี่รถยนต์ที่เจ้าของรถทุกคนควรรู้

 https://www.aprtech.co.th/content/6797/7-type-of-car-battery-that-we-should-to-know

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน

“ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน” ความงามที่ทรงคุณค่า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์     15 กันยายน 2556 13:46 น.    
   
“ดอกราชพฤกษ์” (Ratchaphruek) ดอกไม้ประจำชาติไทย
       ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ “อาเซียน” (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) นั้น ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ เมียนมาร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน โดยในแต่ละประเทศนั้นมีสัญลักษณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สกุลเงิน สถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรม สัตว์ประจำชาติ หรือกระทั่งดอกไม้ เป็นตัวบ่องบอกถึงความแตกต่างของแต่ละประเทศ
      
       ซึ่ง “ดอกไม้” ก็ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่สามารถบ่งบอกได้ถึงเอกลักษณ์ หรือความแตกต่างของแต่ละประเทศได้ และเพื่อเป็นการเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ ในประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนมากขึ้น ก่อนการเข้าสู่เออีซี ในปี พ.ศ.2558 เราจึงมีข้อมูลเกี่ยวกับดอกไม้ประจำชาติ ทั้ง 10 ประเทศมาฝากกัน
      
       ประเทศไทย
       “ดอกราชพฤกษ์” (Ratchaphruek) หรือดอกคูณ มีสีเหลืองสวยสง่างาม เป็นสัญลักษณ์แห่งความมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และสีเหลืองยังเป็นสีแห่งพระพุทธศาสนาและความรุ่งโรจน์ ที่แสดงให้เห็นถึงการยึดมั่นในการทำความดี รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย

“ดอกประดู่” (Paduak) แห่งประเทศเมียนมาร์
       เมียนมาร์
       “ดอกประดู่” (Paduak) พม่าเรียกว่าบะเด้าปาน เป็นดอกไม้ที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศ มีลักษณะเป็นสีเหลืองทอง เป็นดอกไม้แห่งเทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่พม่า ในช่วงเทศกาลนี้ชาวพม่าจะเอาดอกประดู่มาเสียบผม ติดหน้ารถ ประดับบ้าน ฯลฯ นอกจากนี้แล้วดอกประดู่ยังถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความแข็งแรงทนทาน และยังเป็นดอกไม้ที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

“กล้วยไม้แวนด้า” (Vanda Miss Joaquim) สิงคโปร์
       สิงคโปร์
       “กล้วยไม้แวนด้า” (Vanda Miss Joaquim) ตั้งชื่อตามผู้ผสมพันธุ์ คือ Miss Agnes Joaquim เป็นดอกกล้วยไม้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ มีลักษณะสีม่วงสด เติบโตเร็ว และทนกับสิ่งแวดล้อม เปรียบเหมือนชาวสิงคโปร์ ที่ไม่ว่าจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหน ก็สามารถเติบโตได้ในทุกที่

“ดอกส้านชวา” หรือดอก “ชิมเปอร์” ดอกไม้ประเทศบรูไน
       บรูไน
       “ดอกส้านชวา” (Dillenia) หรือดอก “ชิมเปอร์” (Simpor) เป็นดอกไม้กลางแจ้ง เป็นไม้ปลูกได้ยาก มีกลีบดอกใหญ่สีเหลืองสด หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล จะพบดอกชิมเปอร์ได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน และในงานศิลปะพื้นเมือง

“ดอกลำดวน” (Rumdul) ดอกไม้ประเทศกัมพูชา
       กัมพูชา
       “ดอกลำดวน” (Rumdul) เป็นดอกไม้สีขาวหรือเหลืองนวล กลีบดอกมีลักษณะหนาทึบและแข็งเล็กน้อย มีกลิ่นหอมเย็น ถูกจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งเพราะมีความหมายถึงความสดชื่นหอมกรุ่น และเป็นดอกไม้ที่เป็นตัวแทนถึงสุภาพสตรี วิธีปลูกที่ถูกต้องคือปลูกไว้ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือของตัวบ้าน ที่สำคัญต้องปลูกในวันพุธ

“ดอกกล้วยไม้ราตรี” (Moon Orchid) ประเทศอินโดนีเซีย
       อินโดนีเซีย
       “ดอกกล้วยไม้ราตรี” (Moon Orchid) เป็นหนึ่งในดอกกล้วยไม้ที่บานอยู่ได้นานที่สุด โดยช่อของดอกนั้นสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นานถึง 2 - 6 เดือน โดยจะบานปีละ 2 - 3 ครั้งเท่านั้น ทั้งนี้ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย

“ดอกชบา” หรือ “พู่ระหง” ประเทศมาเลเซีย
       มาเลเซีย
       “ดอกชบา” หรือ “พู่ระหง” (Bunga Raya) ในภาษาท้องถิ่นทั่วไปใช้ว่า บุหงา รายอ มีลักษณะกลีบดอกเป็นสีแดง มีเกสรยื่นยาวออกมาเหนือดอก เป็นดอกไม้แห่งความสูงส่งและสง่างาม ซึ่งถูกจัดให้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซีย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและความอดทนในชาติ

“ดอกพุดแก้ว” (Sampaguita Jasmine) ประเทศฟิลิปปินส์
       ฟิลิปปินส์
       “ดอกพุดแก้ว” (Sampaguita Jasmine) เป็นดอกไม้สีขาว กลีบดอกเป็นรูปดาว จะส่งกลิ่นหอมในตอนกลางคืน ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ เรียบง่าย อ่อนน้อมถ่อมตน รวมถึงความเข้มแข็งของชาวฟิลิปปินส์

“ดอกบัว” (Lotus) ดอกไม้แห่งเวียดนาม
       เวียดนาม
       “ดอกบัว” (Lotus) เป็นที่รู้จักกันในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” เป็ญสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี เป็น 1 ใน 4 พันธุ์ไม้แห่งความสง่างาม อีกทั้งยังเป็นดอกไม้แห่งความอดทนและเป็นปึกแผ่น

“จำปาลาว” หรือ “ดอกลีลาวดี” ประเทศลาว
       ลาว
       “จำปาลาว” หรือ “ดอกลีลาวดี” (Champa) เป็นดอกไม้ที่มีสีสันหลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่าง ๆ โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายพิธีสำคัญต่างๆ อีกทั้งยังใช้เป็นพวงมาลัยต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่สำคัญ
      
       และทั้งหมดนี้ก็เป็นดอกไม้ประจำชาติของแต่ละประเทศในสมาชิกประชาคมอาเซียน ที่นอกจากจะสวยงามแล้ว ยังมีคุณค่า และมีความหมายอีกด้วย
      
     

สัตว์ประจำชาติอาเซียน

รู้จัก “สัตว์ประจำชาติอาเซียน” ก่อนก้าวเข้าสู่เออีซี     ดูภาพชุดจาก Manager Multimedia
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์     8 กันยายน 2556 15:04 น.    
   
“ช้าง” สัตว์ประจำชาติไทย
       ในปี พ.ศ. 2558 ก็จะก้าวสู่การเปิดประตูเข้าสู่สมาคมอาเซียน หรือ AEC (ASEAN Economic Community) และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราจึงต้องเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ของประเทศในประชาคมอาเซียนในด้านต่างๆ โดยวันนี้เราจะพาไปรู้จักกับสัตว์ประจำชาติอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
      
       ประเทศที่เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนมีด้วยกันอยู่ 10 ประเทศ ประกอบไปด้วย ไทย ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน ส่วนประเทศไหนจะมีสัตว์ชนิดใดเป็นสัตว์ประจำชาติกันบ้างนั้น ตามไปอ่านกันเลย

“เสือ” สัตว์ประจำชาติของประเทศเมียนมาร์
       “ประเทศไทย”
       “ช้าง” เป็นสัตว์ประจำชาติไทย ช้างถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากคนไทยมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับช้างมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ครั้งหนึ่งบนธงชาติไทยก็เคยมีรูปช้างปรากฎอยู่บนผืนธงสีแดง กระทั่งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มีมติเห็นชอบประกาศให้วันที่ 13 มีนาคมของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ช้างไทย เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญและการดำรงอยู่ของช้างไทย

“มังกรโคโมโด” สัตว์ประจำชาติอินโดนีเซีย
       “เมียนมาร์”
       “เสือ” เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศเมียนมาร์ ลักษณะของเสือสามารถบ่งบอกได้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของประเทศเมียนมาร์
      
       “อินโดนีเซีย”
       “มังกรโคโมโด” เป็นสัตว์ประจำชาติอินโดนีเซีย มังกรโคโมโดเป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า (มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) มังกรโคโมโดถือเป็นสัตว์เลื้อยคลานใกล้สูญพันธุ์ สามารถพบได้เฉพาะบนเกาะโคโมโด (Komodo Island) ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ ที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ เนื่องจากเป็นเกาะภูเขาไฟกลางทะเล

“กระบือ” สัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์
       “ฟิลิปปินส์”
       “กระบือ” เป็นสัตว์ประจำชาติฟิลิปปินส์ กระบือในภาษาตากาล็อกเรียกว่า คาราบาว สำหรับในประเทศฟิลิปปินส์เลี้ยงกระบือเพื่อใช้แรงงานในไร่นา หรือใช้สำหรับการชักลากซุงออกจากป่า โดยลักษณะนิสัยพฤติกรรมของกระบือนั้น เมื่อว่างเว้นจากการถูกใช้งานมักจะชอบนอนแช่น้ำหรือแช่ปลักโคลนเพื่อเป็นการผ่อนคลายความร้อนของร่างกาย

“เสือโคร่ง” สัตว์ประจำชาติบรูไน
       “บรูไน”
       “เสือโคร่ง” เป็นสัตว์ประจำชาติบรูไน เสือโคร่งหรือเสือลายพาดกลอน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จัดเป็นสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panthera tigris ในวงศ์ Felidae จัดเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ และเป็นเสือสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดด้วย (ขณะที่บางข้อมูลว่า บรูไน ไม่มีสัตว์ประจำชาติ)

“เสือมลายู” สัตว์ประจำชาติมาเลเซีย
       “มาเลเซีย”
       “เสือมลายู” เป็นสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย เสือมลายูมีถิ่นฐานอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู โดยจะเห็นสัญลักษณ์ของเสือมลายูได้จากบนตราแผ่นดินของประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นการแสดงถึงพละกำลังและความกล้าหาญของชาวมาเลเซีย อีกทั้งยังใช้เป็นชื่อเล่นของฟุตบอลทีมชาติมาเลเซียอีกด้วย

“กูปรี” หรือ “โคไพร” สัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา
       “กัมพูชา”
       “กูปรี” หรือ “โคไพร” เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศกัมพูชา (เจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชาทรงประกาศให้กูปรีเป็นสัตว์ประจำชาติของกัมพูชา) กูปรีเป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า มักอยู่รวมเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งอาจมากถึง 20 ตัว กูปรีจัดว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบเห็นได้ยากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก พบได้ทางเหนือของประเทศกัมพูชา ทางใต้ของลาว ทางตะวันตกของเวียดนาม และทางตะวันออกของไทย ปัจจุบันไม่มีการรายงานการพบมานานแล้ว เชื่อว่าอาจจะยังพอมีหลงเหลืออยู่ในชายแดนไทยกับกัมพูชาแถบจังหวัดศรีสะเกษ ราวปี พ.ศ. 2507 มักจะมีข่าวว่าพบสัตว์ลักษณะคล้ายกูปรีอยู่บ่อยๆ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันที่น่าเชื่อถือพอ นอกจากคำเล่าลือเท่านั้น

“ช้าง” สัตว์ประจำชาติประเทศลาว
       “ลาว”
       “ช้าง” เป็นสัตว์ประจำชาติประเทศลาว ช้างถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่มีความผูกพันกับชาวลาวเป็นอย่างยิ่ง ในอดีตลาวได้รับการเรียกขานว่าเป็นเมืองล้านช้าง แต่ปัจจุบันประชากรช้างในลาวอยู่ในภาวะวิกฤต รัฐบาลลาวจึงได้ฟื้นฟูและอนุรักษ์ช้างลาวไว้ โดยการจัดงานบุญช้างขึ้นเป็นประจำทุกปี
      
       “เวียดนาม”
       “กระบือ” หรือควาย เป็นสัตว์ประจำชาติประเทศเวียดนาม สามารถพบเห็นได้ทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม

“กระบือ” สัตว์ประจำชาติประเทศเวียดนาม
       “สิงคโปร์”
       “สิงโต” เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อประเทศ มาจากคำว่า สิงหปุระ (Singapura) เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึงเมืองแห่งสิงโต ตามตำนานเล่าขานเจ้าผู้ครองนครแห่งปาเล็มบัง ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของอินโดนีเซีย ได้ออกเดินทางแสวงหาดินแดนใหม่เพื่อสร้างเมือง แต่เรือก็อับปางลง พระองค์ได้ว่ายน้ำขึ้นฝั่ง แล้วก็เห็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีรูปร่างลำตัวสีแดงหัวดำหัวคล้ายสิงโตหน้าอกขาว พระองค์จึงถามคนติดตามว่า สัตว์ตัวนั้นคืออะไรคนติดตามก็ตอบว่ามันคือสิงโต พระองค์จึงเปลี่ยนชื่อเกาะแห่งนั้นเสียใหม่ว่า สิงหปุระ ซึ่งจริงๆ แล้วสัตว์ชนิดนั้นอาจเป็นเสือ เพราะไม่มีหลักฐานว่ามีการพบสิงโตบนเกาะมาก่อน แต่ประเทศสิงคโปร์และสิงโตก็มีความเกี่ยวข้องกันนับจากนั้นเป็นต้นมา
      
       ปัจจุบันบนตราแผ่นดินสิงคโปร์ มีสิงโตปรากฏอยู่เคียงคู่กับเสือโคร่ง โดยสิงโตด้านขวานั้นแทนประเทศสิงคโปร์ ส่วนเสือโคร่งด้านซ้ายนั้นแทนประเทศมาเลเซียแสดงถึงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ของเกาะสิงคโปร์กับมาเลเซีย โดยสิงโตนั้นเป็นสัญลักษณ์แทนความกล้าหาญ พละกำลังและความดีเลิศ

“สิงโต” สัตว์ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์
       นี่ก็เป็นสัตว์ประจำชาติของแต่ละประเทศในประชาคมอาเซียน จะเห็นได้ว่าบางประเทศอาจเป็นสัตว์ชนิดเดียวกัน แต่แตกต่างด้วยที่มาและความหมาย ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็สามารถบ่งบอกถึงสัญลักษณ์แต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี
      

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ย้อน 5 อันดับ "น้ำมันรั่ว" ครั้งใหญ่ของโลก

ย้อน 5 อันดับ "น้ำมันรั่ว" ครั้งใหญ่ของโลก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 สิงหาคม 2556 18:16 น.   


ความต้องการน้ำมันดิบมาใช้ เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้เกิดการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นมาใช้เป็นจำนวนมากขึ้น และแน่นอนว่า แม้จะเป็นเทคโนโลยีที่ดีขนาดไหนในการบริหารจัดการแหล่งน้ำมันต่างๆ แต่ความเกิดความผิดพลาดก็มีให้เห็นอยู่เนืองๆ
หากย้อนดูประวัติศาสตร์การรั่วของน้ำมันดิบทั่วโลกผ่านแผนที่ด้าน แล้วก็ถือว่าอุบัติเหตุเหล่านี้มีบ่อยครั้ง และกินพื้นที่ความเสียหายไม่น้อยเลย (จากจุดสีดำ) ส่วนจุดสีแดงคือพื้นที่การเกิดเหตุล่าสุดที่ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมราย รอบอย่างมีนัยสำคัญ 
    
ผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้ประมวลเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่รุนแรงสุดใน ประวัติศาสตร์การนำน้ำมันดิบมาใช้งานของมนุษย์ใน 5 อันดับ โดยเรียงจากปริมาณการรั่วไหลของน้ำมัน ดังนี้
1. สงครามอ่าว
เมื่อไหร่ : 23 มกราคม 1991    
ที่ไหน : อ่าวเปอร์เชีย คูเวต
ปริมาณการรั่ว : 136 - 205 ล้านตัน / 1-1.5 พันล้านบาร์เรลส์
มูลค่าความเสียหาย : 540 ล้านเหรียญสหรัฐฯ    
                                                             
สถานการณ์ :
เมื่อกองทัพอิรักที่กำลังจะพ่ายแพ้ ได้ทิ้งน้ำมันดิบของคูเวตลงในอ่าวเปอร์เซีย เพื่อสกัดไม่ให้นาวิกโยธินสหรัฐฯ ยกพลขึ้นบกมาปะทะได้ พร้อมทั้งเผาบ่อน้ำมันอีก 600 บ่อ ทำให้น้ำมันดิบกว่า 900 ล้านลิตรที่ไหลลงทะเล ส่งผลให้ผืนน้ำแถวนั้นมีน้ำมันหนา 4 นิ้ว ลอยกระจายเต็มชายฝั่ง กินพื้นที่ 400 ตารางกิโลเมตรใหญ่กว่าเกาะฮาวาย นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์

เคลียร์ยังไง :      
กองกำลังทหารพันธมิตรได้จัดการปิดผนึกบ่อน้ำมันที่ถูกเปิดหลายแห่ง ด้วยระเบิดสมาร์ทบอมบ์ (smart bombs) แต่กว่าจะกู้ตรงจุดเหล่านี้ได้ต้องรอจนกระทั่งหลังสงคราม
ขณะเดียวกันที่ชายฝั่งทะเลก็มีการทุ่นน้ำมัน (boom) แนวสีส้มเพื่อซับน้ำมันยาว 38 กิโลเมตร พร้อมด้วยเครื่องเก็บคราบน้ำมัน (skimmer) ดูดน้ำมันออกจากน้ำ ซึ่งติดตั้งไว้ 21 เครื่อง และใช้รถบรรทุกขนน้ำมันที่ดูดขึ้นมาได้ประมาณ 200 ล้านลิตร
ความเสียหายที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งใหญ่ของโลก แต่รายงานของคณะกรรมาธิการสมุทรศาสตร์ระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Oceanographic Commission, IOC) ยูเนสโก ได้ระบุถึงความเสียหายของระบบนิเวศน์ปะการัง และการประมงท้องถิ่นว่า หากเป็นความเสียหายระยะยาวนั้นไม่ได้มากมายนัก

อีกทั้ง รายงานยังสรุปว่า น้ำมันครึ่งหนึ่งที่รั่วลงทะเลนั้นระเหยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และ 1 ใน 8 คือปริมาณที่ดูดขึ้นมาได้ ส่วนอีก 1 ใน 4 ไหลไปตามชายฝั่งโดยเฉพาะชายฝั่งของซาอุดิอาระเบีย
      
อย่างไรก็ดี รายงานการวิจัยยุคหลังปี 2000 ก็เริ่มมีข้อมูลที่ขัดแย้ง เพราะชายฝั่งหลายพื้นที่ที่ไม่ได้มีการกำจัดคราบน้ำมัน แม้จะผ่านมานับสิบปีแล้ว แต่มลพิษเหล่านั้นได้ทำลายระบบนิเวศน์อย่างมีนัยสำคัญ

2. เลควิว กัชเชอร์ (Lakeview Gusher)
เมื่อไหร่ : 14 มีนาคม 1910
ที่ไหน : เคิร์น เคาน์ตี มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา (Kern County, California)
ปริมาณการรั่ว : 120 ล้านตัน / 9 ล้านบาร์เรล
มูลค่าความเสียหาย : ยังไม่เคยประเมินค่า

สถานการณ์ :
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อ 100 กว่าปีก่อน นับเป็นอุบัติเหตุน้ำมันรั่วครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อบริษัทเลควิวออยคอมพานี ได้ขุดเจาะหลุมที่ 1 เพราะเชื่อว่ามีเพียงก๊าซธรรมชาติ พร้อมๆ กับเทคโนโลยีการขุดเจาะสำรวจสมัยนั้นที่ไม่มีมาตรการป้องกันหากกรณีการ ระเบิดพุ่งออกมาที่ปากหลุม
ที่หลุมดังกล่าวมีน้ำมันดิบอยู่ด้วย และเมื่อเจาะไปถึงก็ทำให้น้ำมันดิบพุ่งออกมาพร้อมกับการระเบิดที่ปากบ่อ ทำให้เกิดน้ำพุน้ำมันพุ่งออกมาแบบหยุดไม่ได้ มีน้ำมันดิบประมาณ 18,000 บาร์เรลต่อวันพุ่งออกมาเป็นเวลายาวนานถึง 18 เดือน

เคลียร์ยังไง :
ตั้งแต่วันแรกที่น้ำพุน้ำมันดิบพุ่งออกมา เจ้าหน้าที่ได้จัดกระสอบทรายก่อเป็นเขื่อนกั้นบริเวณไว้ พร้อมด้วยท่อยาว 4 กิโลเมตรรองรับเมื่อน้ำมันดิบล้นจากเขื่อน ให้ไหลเข้าสู่ถังเก็บน้ำมัน จึงทำให้สามารถเก็บน้ำมันที่พุ่งออกมาได้ประมาณ 5 ล้านบาร์เรล ตลอดระยะเวลา 544 วันที่เกิดเหตุ ส่วนน้ำมันที่เหลืออีกประมาณ 4 ล้านบาร์เรลก็ระเหยและซึมลงดินไป

3. ดีปวอเทอร์ ฮอไรซอน (Deep Water Horizon)     
เมื่อไหร่ : 22 เมษายน 2010
ที่ไหน : อ่าวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา (Gulf of Mexico)
ปริมาณการรั่ว : 470,770 ตัน / 4.1-4.9 ล้านบาร์เรลส์
มูลค่าความเสียหาย : อาจจะมากกว่า 10 ล้านล้านเหรียญหสรัฐฯ      

สถานการณ์ :
แท่นขุดเจาะอันทันสมัยที่ใช้หุ่นยนต์บังคับบนผิวน้ำของดีปวอเทอร์ ฮอไรซอน อันเป็นสัมปทานของบริติชปีโตรเลียม (บีพี) เกิดระเบิดขึ้น เพราะแก๊สและเชื้อเพลิงรั่วเข้าไปในท่อ ขณะกำลังขุดเจาะน้ำมันดิบจากระดับความลึก 1.5 กิโลเมตร ทำให้เพลิงลุกไหม้ ท่อแตก และแท่นขุดเจาะจมลงทะเลหลังจากระเบิด 36 ชั่วโมง โดยมีคนงานเสียชีวิต 11 ราย และบาดเจ็บ 17 คน พร้อมๆ กับน้ำมันดิบที่ทะลักออกมา
ประมาณการว่าน้ำมันดิบรั่วไหลจากช่องเปิดใต้ทะเลก้นอ่าวเม็กซิโกเป็น เวลานาน 87 วัน กินพื้นที่ปนเปื้อน 6,500 - 24,000 ตารางกิโลเมตร น้ำมันบางจุดหนาถึง 91 เมตร พร้อมกับรายงานว่าสัตว์ 8,000 ตัว ตายภายใน 6 เดือนหลังจากเกิดเหตุการณ์ นับเป็นการรั่วไหลนอกชายฝั่งครั้งใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา

เคลียร์ยังไง :
บีพีเลือกใช้วิธีการอัดโคลนลงไปอุดรอยรั่วของท่อน้ำมันแต่ไม่สำเร็จ จึงตัดท่อน้ำมันที่มีรอยแตกออกไป แล้วนำฝาครอบปิด พร้อมทั้งขนถ่ายน้ำมันที่รั่วไหวออกมาสู่ผิวน้ำ
ระหว่างแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ในส่วนของน้ำมันที่ลอยอยู่ในทะเล ได้มีการนำเรือติดตั้งเครื่องเก็บคราบน้ำมันมากกว่า 2,000 เครื่อง และวางแนวทุ่นซับน้ำมัน แต่ก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร เมื่อคลื่นลมแรงทำให้น้ำมันลอดผ่านทุ่นไปได้ พร้อมทั้งใช้สารเคมีโปรยไปตามบริเวณคราบน้ำมัน ทว่า 2 ปีหลังจากโรยสารเคมี มีผลการศึกษาพบว่าสารคอเรกซิต (Corexit) ที่ใช้นี้เพิ่มความเป็นพิษในน้ำมันมากถึง 52 เท่า
ทั้งนี้ น้ำมันที่รั่วออกมา 5% ถูกเผาไหม้ที่ผิวน้ำ และอีก 3% กรองออกมาได้ อีกทั้งยังมีพายุเฮอริเคนในอ่าวเม็กซิโกก็เป็นอุปสรรคสำคัญ ทำให้เรือดักจับน้ำมันต้องหลบพายุอยู่เป็นสัปดาห์ทำให้การแก้ปัญหาล่าช้าออก
ไปอีก
อย่างไรก็ดี เมื่ออุดรอยรั่วได้แล้ว บีพีก็จัดการกำจัดคราบน้ำมันตามชายฝั่ง ด้วยการร่อนทราย เอาคราบน้ำมันที่จับเป็นก้อนออก ในช่วงที่ต้องช่วยกันอุดรอยรั่ว ขจัดคราบน้ำมัน บางวันต้องใช้คนงานมากถึง 47,000 คน

4. บ่อน้ำมัน อิท็อค-วัน (Ixtoc-1 Oil Well)
เมื่อไหร่ : 3 มิถุนายน 1979
ที่ไหน : อ่าวแคมเปเช เม็กซิโก (Bay of Campeche, Mexico)
ปริมาณการรั่ว : 470,000 ตัน / 3.5 ล้านบาร์เรลส์
มูลค่าความเสียหาย : 283.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ


สถานการณ์ :
บ่อน้ำมันที่เกิดเหตุนี้ เป็นของเปเม็กซ์ (Pemex : Petróleos Mexicanos) บริษัทน้ำมันของรัฐบาลเม็กซิโก เหตุเกิดเมื่อมีการเจาะลึกลงไป 3 กิโลเมตร ด้วยการอัดแรงดันจากน้ำโคลน จนภายในบ่อได้รับความเสียหาย เมื่อทางเปเม็กซ์ตัดสินใจแก้ปัญหา ด้วยการดึงท่อเจาะน้ำมันออก ทำให้เกิดควันและก๊าซพุ่งตามขึ้นมา พร้อมด้วยน้ำมันดิบ
กว่าจะอุดรูรั่วได้ต้องใช้เวลานานถึง10 เดือน ระหว่างนั้นน้ำมันดิบประมาณ 520 ล้านลิตรได้พุ่งขึ้นมาไม่หยุด ทำให้อ่าวเม็กซิโกปนเปื้อนไปด้วยคราบน้ำมัน กินพื้นที่ 2,800 ตารางกิโลเมตร ยาวขนานไปตามพื้นที่แนวชายฝั่ง 261 กิโลเมตร

เคลียร์ยังไง :
เริ่มจากแก้ปัญหาที่ต้นตอ จึงมีความพยายามที่จะชะลอมกระแสน้ำมันดิบที่พุ่งออกมาจากบ่อที่เสียหายด้วย การเติมโคลนลงไปในบ่อดังกล่าว และต่อมาก็ใส่ลูกบอลเหล็กและตะกั่วตามลงไป
ขณะเดียวกันเปเม็กซ์ก็เปิดเผยว่า น้ำม้นดิบกว่าครึ่งถูกเผาไหม้เมื่อพุ่งออกมาที่ปากบ่อ และ 1 ใน 3 ก็ระเหยไปในอากาศ อีกทั้งยังได้จ้างบริษัทแห่งหนึ่งโปรยสารเคมีขจัดคราบน้ำมันเหนือพื้นที่ เกิดเหตุกว่า 2,800 ตารางกิโลเมตร สารเคมีดังกล่าวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยละลายน้ำมันให้เข้ากับน้ำ จึงทำให้คราบน้ำมันดิบเข้าสู่ชายฝั่งน้อยลง
ขณะเดียวกัน น้ำมันดิบก็ลอยไปไกลถึงชายฝั่งเท็กซัส ทางเท็กซัสก็ขนทรายชายฝั่งที่ปนเปื้อนออกไป พร้อมทั้งติดตั้งสกิมเมอร์ดูดน้ำมันออกจากน้ำมาที่ชายฝั่งเพื่อจัดเก็บ และบูมเมอร์ดักน้ำมันไม่ให้ไหลเข้าชายฝั่ง

5.แอตแลนติก เอ็มเพรส (Atlantic Empress)
เมื่อไหร่ : 19 ก.ค. 1979
ที่ไหน : ทะเลแคริบเบียน สาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก (Trinidad and Tobago, West Indies)
ปริมาณการรั่ว : 520 ล้านลิตร / 3 ล้านบาร์เรลส์
มูลค่าความเสียหาย : 187 ล้านเหรียญสหรัฐฯ


สถานการณ์ :
เหตุเกิดเมื่อเรือบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ทั้ง 2 ลำชนกัน ท่ามกลางพายุฝนรุนแรง ในทะเลแคริบเบียน ชายฝั่งโตเบโก นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์น้ำมันรั่วจากเรือล่มครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
 พายุฝนกระหน่ำในช่วงค่ำ ทัศนวิสัยต่ำ ทำให้ทั้งเรือแอตแลนติก เอ็มเพรส กับ เรือเอเจียน กัปตัน (Aegean Captain) ที่กำลังเดินทางสวนกัน เพิ่งจะมองเห็นกันในระยะห่างเพียง 500 เมตร ทำให้หักหลบไม่ทัน และเมื่อเรือทั้ง 2 เข้าปะทะกัน ก็เกิดไฟลุกไหม้ขนาดใหญ่ ลูกเรือต่างสละเรือ ซึ่งลูกเรือแอตแลนติกสูญหายไประหว่างเหตุการณ์ 26 คน และลูกเรือเอเจียนเสียชีวิตบนเรือ 1 คน
วันต่อมาเจ้าหน้าที่ชายฝั่งจากตรินิแดดก็สามารถดับไฟเรือเอเจียนได้ สำเร็จและนำเรือเข้าสู่ประเทศคูราเซา (Curaçao) ซึ่งเป็นต้นทางที่ขนน้ำมันมา ขณะที่เรือแอตแลนติกลอยออกไปไกลจากฝั่ง พร้อมกับไฟที่ยังไม่สามารถดับได้ และน้ำมันดิบเริ่มรั่วออกมาเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งผ่านไป 1 สัปดาห์ เกิดระเบิดขึ้นบนเรือ น้ำมันรั่วเพิ่มออกมาอย่างรวดเร็ว และในที่สุดเรือก็จมลงในวันที่ 3 ส.ค. (กินเวลา 16 วัน)

เคลียร์ยังไง :
แม้ว่าเหตุการณ์นี้จะเป็นเหตุน้ำมันรั่วใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก แต่ก็ไม่ได้มีการจัดการมากมายนัก เพราะเป็นน้ำมันดิบที่มีความหนาแน่นต่ำ (light crude) และเกิดรั่วในบริเวณทะเลน้ำอุ่น ซึ่งจะช่วยให้ระเหยสู่อากาศและตกลงสู่ก้นทะเลได้ไวขึ้น อีกทั้งส่วนหนึ่งก็ถูกเผาไหม้ระหว่างที่เรือปะทะกัน ดังนั้นความพยายามแรกก็การดับไฟ และตามมาด้วยการใช้สารเคมี
ทั้งนี้ เหตุน้ำมันที่รั่วมาจากเรือแอตแลนติกเอ็มเพรสที่ลอยออกไปในทะเล ทำให้มลพิษตามแนวชายฝั่งจึงมีเพียงเล็กน้อย เท่าที่ผู้อยู่อาศัยแถบนั้นสังเกตเห็น แต่ปัจจุบันก็ยังไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ยืนยันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจาก เหตุการณ์ดังกล่าว

ทุ่นซับน้ำมัน หรือ บูม ที่ถูกนำมาใช้งานเพื่อกั้นการกระจายของคราบน้ำมัน ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับพื้นที่ที่ไม่มีคลื่นลมแรง เหตุการณ์ดีปวอลเทอร์ มีบางส่วนใช้อุปกรณ์นี้ได้      

การโปรยสารเคมีเพื่อ ทำให้น้ำมันดิบสลายขนาดเล็กลงและตกลงก้นทะเล เป็นหนทางที่ใช้กันบ่อย แต่มักจะส่งผลกระทบระยะยาว เพราะการตกค้างของคราบน้ำมัน และความเป็นพิษที่เกิดขึ้นตามมา      

ภาพจากสถานีอวกาศ นานาชาติ บันทึกโดยนาซา เมื่อถ่ายลงมาบริเวณอ่าวเม็กซิโก หลังเกิดเหตุน้ำมันรั่วของพีบี กินพื้นที่บริเวณกว้าง แม้จะอุดรอยรั่วของน้ำมันได้แล้ว แต่ผลกระทบและการเรียกร้องค่าเสียหายยังไม่จบสิ้นกันง่ายๆ

ยังมีเหตุการณ์น้ำมันรั่วครั้งสำคัญอีกจำนวนมาก แต่การรั่วของแท่นขุดเจาะน้ำมัน หรือ การระเบิดนั้น หากเกิดบนทะเลจะส่งผลกระทบเสียหายมากกว่าบนพื้นดิน เพราะน้ำจะนำพาคราบน้ำมันเหล่านี้ไปไกลเกินกว่าจะคาดเดาได้
      
ในหลายๆ กรณีนี้แม้เหตุการณ์จะคลี่คลาย สามารถหยุดยั้งการรั้ว หรือ กำจัดทำความสะอาดคราบน้ำมันดิบได้แล้ว แต่ยังต้องมีการติดตามผลกระทบระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมที่เราอาจจะคาดไม่ถึง

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทีวีดิจิตอล

ทีวีดิจิตอล ไม่ใช่ทั้งทีวีดาวเทียม (Satellite TV) และเคเบิลทีวี (Cable TV) ทีวีดิจิตอลเป็นวิวัฒนาการล่าสุดของการส่งสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทดแทนทีวีแอนะล็อก (Analog TV) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีหลักการทำงานเหมือนกับทีวีแอนะล็อก คือส่งสัญญาณจากเสาโทรทัศน์ของสถานีผ่านอากาศ เข้าเสาก้างปลาหรือหนวดกุ้งของเครื่องรับโทรทัศน์ที่บ้าน แต่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงกว่า ด้วยการเปลี่ยนการเข้ารหัสจากแบบแอนะล็อกเป็นดิจิตอล ทำให้ 1 ช่องแอนะล็อกกลายเป็น 48 ช่องดิจิตอลทันที ทั้งยังรองรับการส่งสัญญาณภาพแบบ Full HD ความละเอียด 1,920x1,080 พิกเซล สัดส่วนภาพ 16:9 Wide Screen และรองรับการส่งสัญญาณเสียงแบบรอบทิศทาง (Digital Surround) ด้วย
     
       ประเทศไทยจะเปลี่ยนระบบโทรทัศน์ไปเป็นระบบดิจิตอลบนมาตรฐาน DVB-T2 (Digital Video Broadcasting-Second Generation Terrestrial) ทั้งหมด โดยจะเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ. 2558-2563 ซึ่งนับเป็นโอกาสที่ดีมากๆ สำหรับผู้บริโภค เพราะจากที่เคยมีฟรีทีวีให้ดูอยู่แค่ 6 ช่อง นับจากนี้ไปก็จะมีช่องให้เลือกมากขึ้นถึง 48 ช่องทีเดียว
     
       วิธีรับชมทีวีดิจิตอลก็ไม่ยาก ใช้เสาอากาศเดิมกับทีวีเดิมที่มีอยู่นั่นแหละ เพียงแต่ซื้อกล่องแปลงสัญญาณที่รองรับมาตรฐาน DVB-T2 มาต่อพ่วงเข้าไปแค่นี้ก็ดูทีวีดิจิตอลได้แล้ว หรือถ้าใครอยากซื้อโทรทัศน์ใหม่ก็ย่อมได้ ขอให้รองรับมาตรฐาน DVB-T2 ได้เป็นพอ ย้ำว่าต้อง DVB-T2 เท่านั้น หากเป็นมาตรฐานอื่น เช่น DVB-T (ไม่มีเลข 2 ต่อท้าย) แบบนี้เป็นคนละมาตรฐานกัน ดูไม่ได้
     
       ในส่วนของภาครัฐนั้นก็ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่าง เต็มที่ โดยมีนโยบายแจกคูปองส่วนลดให้แก่ทุกครอบครัวเพื่อใช้เป็นส่วนลดในการซื้อ กล่องรับสัญญาณหรือทีวีเครื่องใหม่ที่รองรับมาตรฐาน DVB-T2 ด้วย ซึ่งคาดว่าจะเริ่มแจกคูปองได้ในปี พ.ศ. 2557
     
       ถึงบรรทัดนี้ เชื่อว่าคุณผู้อ่านคงเห็นภาพโดยรวมของระบบทีวีดิจิตอลในประเทศไทยบนมาตรฐาน DVB-T2 แล้ว และพร้อมรับเทคโนโลยีใหม่ที่จะมาถึงเมืองไทยในอีก 2 ปีข้างหน้า ผู้สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.samsung.com/th/smarttv/digitaltv/

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

5 ของกิน อร่อยแทนยา!

ภาพ

ไม่ต้องไปวิ่ง หายากินให้ขมคอ แค่หยิบสิ่งเหล่านี้มาลิ้มลองรส คุณก็สามารถมีสุขภาพดีได้อย่างไม่ลำบากมากมายแล้ว ด้วยสรรพคุณของมันที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน
       
       1. มันฝรั่ง = ยาลดความดัน
       ในมันฝรั่งมีสารเคมีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติชื่อว่า “คูคัวไมน์ส” ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำลงได้ผลชะงัก
     
       2. เนย = ยานอนหลับ
       ในเนยมีกรดอะมิโน ที่มีชื่อว่า “ทริปโตพัน” ช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย และสะกดให้หลับได้สนิทยิ่งขึ้น
     
       3. ส้ม = ยาแก้เบื่อ
       กลิ่นส้มช่วยให้ รู้สึกผ่อนคลาย ส่วนวิตามินซีในนั้นช่วยให้สมองหลั่งฮอร์โมนคลายความเครียด แก้เบื่อ แก้เซ็งได้ แต่มีข้อแม้ว่า ต้องกินโดยปอกเปลือกเองเท่านั้น
     
       4. ช็อกโกแลต = ยาแก้ไอ
       ในโกโก้ ซึ่งใช้ทำช็อกโกแลต มีสารที่ชื่อ “ธีโอโบรไมน์” ออกฤทธิ์ที่เส้นประสาท “เวกัสเนอร์ฟ” ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการไอ กินแล้วช่วยให้หยุดอาการไอเรื้อรังอย่างได้ผล
     
       5. บ๊วย = ยาชูกำลัง
       บ๊วยมีค่าความเป็น ด่าง PH 7.35 ซึ่งใกล้เคียงกับเลือดของคนเรา กินแล้วจึงช่วยถ่วงดุลความเป็นด่างในร่างกายไว้ได้ ช่วยลดอาการอ่อนเพลียจากภาวะเหนื่อยอ่อน เนื่องจากกรดในเลือดสูง ค่าความเป็นด่างไม่สมดุล แถมยังมีโปรตีน เกลือแร่ และสารอาหารจำเป็นอีกเยอะแยะ
     
       Info Graphic โดย ASTV ผู้จัดการ LIVE

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

ดอยหลวงเชียงดาวในหมวก 6 ใบ

ดอยหลวงเชียงดาวในหมวก 6 ใบ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
  
13 มกราคม 2556 12:19 น.    


ภาพดอยหลวงเชียงดาว ของคุณ “Jungle Man” ที่กระจายข่าวเกี่ยวกับการปลุกกระแสกระเช้าไฟฟ้าที่
เงียบหายไปกว่า 10 ปีจนเป็นกระแสสังคมในโซเซียลเน็ตเวิร์ค

การแก้ปัญหาด้วยการคิดแยกแยะเหตุผลที่ไปที่มาให้แจ่มแจ้ม ไม่ว่าจะคิดร่วมกันหรือนั่งคิดคนเดียว อาจทำให้รับมือกับปัญ
หาโหดหินได้ง่ายขึ้น เมื่อเกิดปัญหาสาธารณะ การแยกแยะข้อดี ข้อเสีย เพื่อสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ๆ บนเหตุและผลที่หลากหลายเพื่อตัดสินใจร่วมกัน อาจทำได้ด้วยวิธีคิดแบบ “หมวก 6 ใบ”    
     
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีภาพดอยหลวงเชียงดาวยามเช้าที่โพสโดยช่างภาพ ท่านหนึ่งกระจายบนโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างรวดเร็ว เพราะเนื้อความได้พูดถึง “การปลุกกระแสสร้างกระเช้าขึ้นดอยหลวงเชียงดาว” ทำให้มีผู้ให้ความคิดเห็นหลากหลายทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ตัวนายปรี๊ดไปเยือนยอดเขาหินปูนแห่งนี้ถึง 3 ครั้ง เพราะในมุมของนักชีววิทยาดอยหลวงเชียงดาว คือ “หิมาลัยแบบไทยๆ” เนื่องด้วยมีพืชและสัตว์เฉพาะถิ่นจำนวนมากอาศัยอยู่ในภูมิประเทศอัน ทุรกันดารซึ่งหาดูที่อื่นไม่ได้     
     
หลายคนจึงสะท้อนความกังวลในฐานะเจ้าของทรัพยากรคนหนึ่งว่า หากนักท่องเที่ยวจำนวนมากหวังเพียงแต่ขึ้นกระเช้าไปปักหมุดลงไอโฟนหรือถ่าย ภาพลงเฟซบุ๊ก แทนที่จะเคารพและรักษาพื้นที่ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงแล้ว จะคุ้มกันหรือไม่กับสิ่งก่อสร้างต้นทุนสูง กระแสการสร้างกระเช้าไฟฟ้าดอยเชียงดาวจึงเริ่มเป็นที่สนใจอีกครั้ง หลังจากที่เงียบไปนานกว่า 10 ปี ปัญหาเรื่องนี้อาจบอบบางไม่ต่างกับธรรมชาติบนยอดดอย หรือสามารถขยับขยายจนเป็นฉนวนใหญ่จุดไฟทั้งด้านสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ และการเมืองขึ้นมาพร้อมๆ กัน     
     
ดังนั้น การหาวิธีการเพื่อสะท้อนความคิดของคนแต่ละฝ่ายตามหลักการคิดอย่างเป็นวิทยา ศาสตร์ เช่น การวิเคราะห์ข้อเท็จจริง แยกแยะ รวบรวม และชั่งน้ำหนักก่อนตัดสินใจอาจมีผลดี หรือลดผลกระทบที่ตามมาได้มากที่สุด
            
หนึ่งในวิธีคิดที่พูดกันมานาน สอนกันมานาน แต่กลับนำมาใช้น้อยมากในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมที่ปะปนด้วยข้อ เท็จจริงและความขัดแย้ง คือ “คิดแบบหมวก 6 ใบ” หรือการจำลองการสวมหมวกสีต่างๆ เพื่อกำหนดกรอบความคิดให้ชัดเจนในแต่ละประเด็น ซึ่งเสนอโดย ดร. เอดเวิร์ด เดอ โบโน (Edward de Bono) นักจิตวิทยาชาวมอลต้า เมื่อปี 1985 ในหนังสือชื่อ “Six Thinking Hats”     
     
วิธีคิดที่ ดร. เดอ โบโน ใช้เป็นวิธีคิดแบบแนวข้าง (Lateral thinking) ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการจัดการข้อเท็จจริงและความคิดสร้างสรรค์ที่กระจัด กระจายอยู่รอบๆ ปัญหามาแยกแยะเป็นก้อนๆ เพื่อให้สะดวกต่อการต่อยอดทางความคิด ซึ่งเป็นการขยายกรอบในกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ที่ต้องเริ่มต้นจับปัญหาให้มั่น และหาเหตุผลหรือวิธีแก้เป็นขั้นๆ ในแนวดิ่ง (Horizontal หรือ Logic to logic thinking)    
     
หากเปรียบง่ายๆ วิธีคิดแนวข้างอาจเหมือนการมองปัญหา และข้อเท็จจริงให้ทั่วทั้งก้อน แล้วนำไปวางตามขั้นบันได เพื่อวางแผนหรือกำหนดขั้นตอนการแก้ปัญหาที่ต้องเดินไปเป็นขั้นเป็นตอนให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะระหว่างทางการเดินบนบันไดก็สามารถหยิบวัตถุดิบทางความคิดที่หลากหลาย นั้นมาใช้ได้สะดวก จึงเหมาะสมกับปัญหาที่มีผลกระทบกับคนหลายฝ่ายและมีความคิดเห็นจำนวนมาก     
     
ครั้งนี้นายปรี๊ดจึงขอลองใช้ตัวอย่าง “ปัญหากระเช้าไฟฟ้ากับดอยหลวง” ซึ่งมีความคิดเห็นหลากหลายมาเป็นตัวอย่างว่าเราจะสามารถหาวัตถุดิบทางความ คิดจากความแตกต่างนี้ได้อย่างไร แล้วจะมีไอเดียไหนที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด ถือว่าวันนี้เราใช้เรื่องกระเช้าดอยหลวงเชียงดาวเป็นแบบฝึกหัดเล็กๆ เพื่อมองปัญหาสังคมแบบแยกแยะก็แล้วกันครับ
           
หมวกสีขาว: หมวกแห่งข้อเท็จจริง หมวกสีขาวใช้แทนการให้ข้อเท็จจริง โดยไม่มีอารมณ์และความรู้สึกมาเกี่ยวข้อง นักวิทยาศาสตร์หรือนักวิชาการจึงมักถูกคาดหมายให้แสดงออกในลักษณะนี้ ดอยหลวงเชียงดาวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดอันดับ 3 ของประเทศ แต่ถ้าเทียบกันระหว่างเขาหินปูนยอดดอยหลวงเชียงดาวนับว่าสูงที่สุดที่ระดับ ความสูง 2,275 เมตรจากระดับน้ำทะเล  
     
ความพิเศษของพื้นที่แห่งนี้ คือ ลักษณะของเขาหินปูนที่แข็งแกร่งแต่มีรูพรุนทำให้เก็บกักน้ำบนพื้นผิวไม่ได้ มีลมพัดแรงตลอดทั้งวัน ทำให้พรรณพืชที่ขึ้นมีลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย หรือเป็นกอเล็กๆ ซึ่งภูมิประเทศประหลาดนี้ถูกเรียกว่าภูมิประเทศกึ่งอัลไพน์ (semi-alpine) คล้ายกับบางส่วนในเทือกเทือกเขาแอลป์และหิมาลัยแต่ก็มีความสูงน้อยกว่าและ แห้งแล้งกว่า 
     
จนทำให้พืชและสัตว์เกือบทั้งหมดที่สามารถปรับตัวอาศัยอยู่ที่นี่ได้ เป็น “สิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว” ที่ไม่สามารถพบที่อื่น เช่น ต้นเทียนนกแก้ว ชมพูเชียงดาว คำป้อหลวง ดอกหรีดเชียงดาว กุหลาบพันปี ค้อเชียงดาว และกล้วยไม้สิรินธร ซึ่งเป็นสกุลใหม่ของโลก และมีความอ่อนไหวทางชีววิทยามากเพราะมักจะออกดอกผลในฤดูหนาว และพักตัวในฤดูแล้ง ส่วนสัตว์ก็พบ ไก่ฟ้าหางลายขวาง นกไต่ไม้ใหญ่ และสัตว์สงวนที่ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดชนิดหนึ่งของไทยคือกวางผา
            
ดอยหลวงเชียงดาวมีความสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นต้นน้ำของลุ่มน้ำปิง จนทำให้พื้นที่แห่งนี้ถูกจัดเป็น “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว” ซึ่งมีจุดประสงค์หลักในการอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเป็นหลัก ซึ่งต่างจากการประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อกิจกรรมสันทนาการและการท่องเที่ยวพ่วงเข้าไปด้วย     
     
ส่วนที่มาของการแนวคิดสร้างกระเช้าไฟฟ้า เริ่มต้นในปี 2546 เมื่อมีคนใหญ่คนโตท่านหนึ่งนั่งเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดเขาแล้วพูดว่า “น่าจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว” แนวคิดต่างๆ จึงผุดขึ้นมาจนสุดท้ายมาลงที่การสร้างกระเช้าไฟฟ้าด้วบงบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท แต่ด้วยขณะนั้นมีเสียงคัดค้านมากกกว่าสนับสนุน ทั้งสื่อ ภาคประชาขน และ NGOs ท้องถิ่น จนเกิดการรวมตัวเป็นภาคีดอยเขียงดาว เรื่องกระเช้าไฟฟ้านี้จึงเงียบลง จนกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้เอง     
     
หมวกสีแดง: หมวกแห่งความรู้สึก การใส่หมวกสีแดงเหมือนการปลดปล่อยความรู้สึก ทั้งดี ร้าย ลางสังหรณ์และความประทับใจต่างๆ สำหรับความคิดใต้หมวกสีแดง นายปรี๊ดประทับใจธรรมชาติของดอยหลวงเชียงดาวทั้งในมุมของนักเดินทางและนัก ชีววิทยา ในแง่มุมของนักเดินทาง ทางขึ้นดอยหลวงเชียงดาวท้าทายอย่างที่สุด เพราะต้องปีนเขาชันเท้าฝ่าแดดเปรี้ยงบนสันเข้าหินปูนที่มีร่มไม้ให้หลบเงา เพียงน้อยนิด ไม่มีแหล่งน้ำ ไม่มีฟ้า ไม่มีห้องน้ำตลอดระยะทางเกือบ 10 กิโลเมตร พบตกค่ำอากาศจะจะเย็นลงอย่างรวดเร็ว ก่อไฟไม่ได้เพราะไม่มีฟืน เล่นดนตรีไม่ได้เพราะจะรบกวนสัตว์ป่า แถมเดินไปไหนไม่ได้เพราะมีพื้นที่ราบไม่มาก    
     
หากแต่ดอยหลวงเชียงดาวถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางนิเวศน์ที่สมบูรณ์ แบบเพราะเมื่อตื่นมาในยามเช้ารางวัลยิ่งใหญ่คือการรับแสงแดดแรกบนยอดเขาสูง กลางทะเลหมอกที่กว้างสุดตา ซึ่งหลายคนที่ไปก็ล้วนแต่ได้สัมผัสถึงความนับถือในความมุ่งมั่นและร่างกาย ที่แข็งแรงของตนเองและความสามัคคีในหมู่เพื่อนร่วมทางที่พากันมาได้ถึงขนาด นี้     
     
ในแง่ของนักชีววิทยาดอยหลวงเชียงดาว คือ “ความฝันที่จับต้องได้” ทุกครั้งที่ไปเยือนนายปรี๊ดมักนั่งขลุกอยู่กับพื้นได้นานเป็นวันๆ เพียงเพื่อได้ก้มดูพืชพรรณแปลกตาที่ไม่พบที่ไหน มองเขาหินปูนและรับรู้บรรยากาศที่จำกัดให้สัตว์มีชีวิตต้องปรับตัวให้อยู่ รอด หรือนั่งเฝ้าดูนกกินปลีสีแดงเพลิงบินดอมดอกกุหลาบพันปีอยู่ไกลๆ หรืออาจะเพราะที่นี่เป็นเพียง “ที่เดียว” ในประเทศที่พาเราบินไปใกล้“หิมาลัย” ได้มากที่สุด อีกทั้งต้นไม้เล็กๆ ในบนยอดดอยที่แห้งแล้งอาจใช้เวลาหลายสิบปีในการเติบโต แต่การเหยียบย่ำเพียงครั้งเดียวอาจจบทุกอย่างได้ หากวันหนึ่งทุกอย่างหายไปก็เท่ากับว่าประเทศเราได้สูญเสีย “มรดกแผ่นดิน” ที่มีค่าไปและไม่มีโอกาสได้คืนมาอย่างเดิมแน่นอน

การคิดแบบหมวก 6 ใบ

หมวกสีเหลือง: หมวกแห่งการสนับสนุน เวลาสวมหมวกสีเหลืองสิ่งที่ต้องแสดงออกคือความหวัง ความคิดเพื่อสนับสนุนในเชิงบวก นายปรี๊ดเชื่อว่าการสร้างกระเช้ามีข้อดีกับชุมชน ในแง่ของความสะดวกสบายและเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวให้มีโอกาสมาเยี่ยมชม น่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้คนทุกเพศทุกวัยทั้งเด็ก วัยรุ่น และคนชราได้สัมผัสความมหัศจรรย์ของธรรมชาติอันจำเพาะถิ่นได้ง่ายขึ้น เพราะหากดำเนินการได้ตามแผนงานเดิมดอยเชียงดาวอาจรับรองนักท่องเที่ยวแบบครบ วงจรได้ทั้งภัทตาคาร ที่พัก และศูนย์การค้าที่จะสร้างขึ้นได้มากถึงปีละ 20,000 คน ถ้าจัดการได้ดีก็น่าจะทำให้ประชาชนรอบๆ มีโอกาสมีรายได้จากการท่องเที่ยวได้มาก ในแนวคิดแบบทุนนิยมอาจจะถือว่ามีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อชุมชนมากทีเดียว และอาจนำงบประมาณการพัฒนาด้านอื่นๆ เช่น ถนน เข้ามาในพื้นที่ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย     
     
หมวกสีดำ: หมวกแห่งการทบทวน ใช้ชี้จุดอ่อน การวิจารณ์จากบทเรียนในอดีต ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต คำเตือน หรือข้อควรระวัง ซึ่งหมวกใบนี้ถูกพูดถึงอย่างมากเมื่อกระเช้าไฟฟ้าถูกนำมาเป็นประเด็น และแน่นอนว่าหลายเรื่องล้วนแต่น่าห่วงทั้งสิ้น อันดับแรกคือ พื้นที่รองรับคนบนยอดดอยหลวงนั้นจำกัดมาก เพราะบนยอดดอยมีพื้นที่ราบที่ใช้กางเตนท์ก่อนขึ้นถึงยอดดอยกว้างเพียงสนามบา สเก็ตบอลต่อกันสัก 2 สนาม
         
ส่วนยอดดอยนั้นแคบมากขนาดเท่ากับสนามแบดมินตันเล็กๆ เท่านั้นแถมพื้นก็ยังเป็นหินแหลมคม ตะปุ่มตะป่ำเต็มไปด้วยมอสและพรรณไม้หายากซ่อนตัวอยู่ ในฤดูแล้งก็มักจะมีไฟป่าตามธรรมชาติลุกโซนเพราะพืชพรรณจะกลายเป็นเชื้อเพลิง ชั้นดีจนทำให้เขตรักษาพันธุ์มีข้อห้ามขึ้นดอยหลวงในช่วงฤดูแล้ง จนบางคนให้เหตุผลน่าฟังว่า “อาจต้องลืมเรื่องพาคนแก่และเด็กมาเที่ยวได้เลย เพราะวัยรุ่นแข็งแรงแค่เดินเล่นยังลำบาก” การสร้างกระเช้าซึ่งต้องมีสถานีรับส่งคน ไม่ว่าจะขนาดใด หรือจะอนุญาตให้พักค้างคืนได้หรือไม่ก็ตามอาจจะทำให้พื้นที่เล็กๆ ที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพนี้พังครืนลงได้ง่ายๆ ซึ่งยังไม่นับปริมาณขยะและห้องน้ำที่ต้องสร้างเพิ่มเติมอีก   
     
ในทางกฏหมายดอยหลวงเชียงดาวยังอยู่ในฐานะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซึ่ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อการอนุรักษ์อย่างเข้มงวดเป็นหลัก ไม่ใช่การท่องเที่ยวการสร้างกระเช้าจึงอาจจะไม่ได้มีเพียงชุมชนเพียงอย่าง เดียวที่สามารถตัดสินใจได้ อย่างน้อยที่สุดกรมอุทยานแห่งชาติก็ต้องแก้ไข พรบ.พื้นที่อนุรักษ์เพื่อเปลี่ยนจุดประสงค์ไปสู่การสันทนาการซึ่งก็น่าจะ เป็นเรื่องใหญ่     
     
ส่วนเรื่องที่สำคัญที่สุด คือ เรื่องของงบประมาณที่อาจได้ผลกำไรไม่คุ้มทุน เพราะพื้นฐานนักท่องเที่ยวไทยนั้นชอบลองของใหม่ไปเรื่อยๆ หากวันหนึ่งธรรมชาติบนดอยหลวงเชียงดาวเปลี่ยนไป มีคนจำนวนมากแย่งกันกินกันใช้จนพื้นที่หมดความนิยมในมนต์คลังของการเดินทาง ใครจะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับธรรมชาติ วัฒนธรรมและงบประมาณที่สูญเสียไป จนคนท้องถิ่นบางท่านให้ความเห็นว่า ”อย่าให้เชียงดาวเหมือนเมืองปายแห่งที่สองเลย…เก็บไว้อย่างนี้จะยั่งยืนกว่า ไหม?”
       
หมวกสีเขียว: หมวกแห่งการสร้างสรรค์ หมวกสีเขียวใช้แสดงความคิดหรือไอเดียที่สร้างสรรค์และเป็นไปได้จริง กระเช้าไฟฟ้าในประเทศต้นแบบ เช่น สกีรีสอร์ทในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งคนใหญ่คนโตชอบไปดูงานอาจดูน่าสนใจในแง่การท่องเที่ยว แต่ก็เพราะทางขึ้นไม่มีอะไรสนใจนอกจากหิมะ การเดินเท้าก็ยากลำบากและเสี่ยงภัย กระเช้าไฟฟ้าจึงเป็นทั้งนวัตกรรมและสิ่งจำเป็นในการเดินทาง แต่ยอดเขามีชื่อหลายแห่งของโลกเข่น คิรีมานจาโรในแอฟริกา หิมาลัยในทิเบต เขาฟูจิในญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งโคตาคินาบาลูในมาเลย์เซียล้วนแล้วแต่มีเสน่ห์และสร้างรายได้ ด้วยการเดินเท้า    
     
จากประสบการณ์ส่วนตัวที่นายปรี๊ดเคยร่วมทีมสำรวจเส้นทางเดินเท้าขึ้น เขาลูกหนึ่งทางตะวันตกของไทย ซึ่งเป็นเขาหินปูนแห้งแล้ง ไม่มีร่มไม้ ทางเดินก็เสี่ยงเต็มไปด้วยหินผาชัน แต่มีทิวทัศน์ที่สวยอย่างน่าอัศจรรย์ หลังจากอุทยานพัฒนาข้อมูลพื้นฐานด้านทรัพยากร และเปิดให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวเพียง 25 คนต่อวัน รายได้ขั้นต่ำของไกด์และลูกหาบท้องถิ่น จุดพักแรม และข้อบังคับการขนขยะกลับ และเปิดเป็นเส้นทางพิสูจน์ใจมากว่า 5 ปี ทุกวันนี้ยอดเขาแห่งนั้นมีนักเดินทางขึ้นไปเยี่ยมเยียนไม่ขาดสาย มีคิวจองล่วงหน้าเป็นเดือนๆ พร้อมกับรายได้ของชุมชนที่มีเข้ามาอย่างยั่งยืน  
     
ประสบการณ์ที่ว่ามานี้อาจเป็นตัวอย่างหนึ่งของการจัดการที่ “ระบบ” ที่ไม่ต้องใช้ “การลงเงิน” แต่ต้องใช้ความจริงใจในการแก้ปัญหาและเปิดให้ชาวบ้านรอบพื้นที่มีส่วนร่วมใน การจัดการมากกว่าแค่การขอคะแนนเสียงเพื่อทำประชาพิจารณ์ปลดล็อคงบประมาณออก จากคลังเท่านั้น หรือหากมีเงินลงทุนและต้องการดึงนักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักเข้ามาแทน การคิดวิธีขายแบบอื่นๆ ก็อาจเป็นไปได้ เช่น การทำบอลลลูนชมวิวที่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติน้อยกว่า แต่ได้เห็นความสวยงามของธรรมชาติเช่นกัน ซึ่งวิธีนี้ได้มีบริษัทเอกชนเปิดกิจการในเมืองพุกามเพื่อชมทะเลเจดีย์ในราคา หัวละกว่าหมื่นบาทและแน่นอนว่ายอดจองถล่มทลายต้องติดต่อล่วงหน้าเป็นเดือนๆ สะท้อนให้เห็นว่า “วิธีคิด” และ “วิธีขาย” ให้มีผลกระทบกับธรรมชาติน้อยที่สุดอาจจะเป็นทางที่สร้างสรรค์กว่า?   
     
หมวกสีฟ้า: หมวกแห่งการตัดสินใจ เมื่อเสนอทุกภาพข้อสรุปจึงมาถึง หมวกสีฟ้าใช้เพื่อการตัดสินและควบคุมกระบวนการ หรืออาจพูดว่าเป็นบันได้ขั้นบนสุดก่อนเปิดประตูเดินออกไปแก้ปัญหา พร้อมกับข้อเท็จจริงและข้อดี ข้อเสียที่เก็บสะสม วิเคราะห์มาตามรายทางบนบันไดแต่ละขั้นหรือหมวกแต่ละใบ สำหรับข้อนี้นายปรี๊ดอยากเสนอให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้นั่งคุยกันอย่าง จริงจัง และแยกแยะข้อดีข้อเสียให้ดี หากเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบและเริ่มพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ที่รายรอบดอยหลวงเชียงดาวก่อน เช่น วัดถ้ำเชียงดาว หรืออ่างน้ำร้อนแบบออนเซ็นบริเวณตีนดอยเชียงดาวที่มีนักท่องเที่ยวไทย และแบ็คแพ็คเกอร์ญี่ปุ่นมาเยือนเป็นประจำ พัฒนาเกสต์เฮาส์ให้สอดแทรกวิถีชีวิตของคนเชียงดาว พัฒนาเอกลักษณ์ของตลาดเล็กๆ กลางเมือง ลำธารใสที่ไหลจากยอดดอยที่นิ่งเรียบมีเสน่ห์แบบชาวบ้าน ไปจนถึงระบบไกด์และลูกหาบที่ไม่ผูกขาด อาจถือเป็นการเริ่มต้นพัฒนาที่ไม่ต้องใช้ทุนรอนมากมาย แต่ได้เปิดโอกาสให้ชุมชนได้ลองคิดได้ทำสิ่งใหม่...เผลอๆ สักวันหนึ่งอาจไม่ต้องรอกระเช้าราคาแพงที่ไม่รู้ว่าวันไหนจะได้เริ่มสร้าง คนรอบดอยหลวงอาจนั่งยิ้มนับเงินแบบยั่งยืนอย่างไม่รู้ตัว
 
นายปรี๊ดมักเปรียบการท่องเที่ยวเหมือนการเลือกซื้อรองเท้า ช่างบางคนเลือกใช้วัสดุราคาถูกตัดตามแฟชั่นประเดี่ยวประด๋าว คนซื้อใส่ไม่กี่ครั้งก็ต้องหาเปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ช่างบางคนใช้วัสดุราคาแพง รูปแบบเรียบง่าย แต่พิถีพิถัน รองเท้าจึงมีราคาแพงและผู้ใช้พอใจใส่ได้นานเป็นสิบปี สุดท้ายใครอยากเป็นช่างแบบไหนก็ต้องตัดสินใจกันให้ดี คิดกันให้รอบด้าน เพราะคนซื้อสมัยนี้เค้าช่างเลือก มีรสนิยมหลากหลาย และไม่ชอบให้ใครมาชักนำ ใครจะจับรองเท้าไปยัดเท้าใครคงไม่ยอมง่ายๆ แถมเมื่อไม่พอใจยังป่าวประกาศบอกเพื่อนฝูงให้ “แบน” ร้านท่านได้ภายในไม่กี่นาทีอีกด้วย

เกี่ยวกับผู้เขียน
“นายปรี๊ด” นักศึกษาทุนปริญญาเอกด้านชีววิทยา ซึ่งมีประสบการณ์ในแวดวงวิทยาศาสตร์อย่างหลากหลาย     
ทั้งงานสอน บทความเชิงสารคดี ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ทำสื่อการสอน ของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์     
กรรมการตัดสินโครงงาน วิทยากรบรรยายและนักจัดกิจกรรมเพื่อการจุดประการวิทยาศาสตร์จากสิ่งใกล้ตัว  
ติดตามอ่านบทความของนายปรี๊ดที่จะมาแคะคุ้ยเรื่องวิทย์ๆ...สะกิดต่อม คิด ให้เรื่องเล็กแสนธรรมดากลายเป็นความรู้ก้อนใหม่ ได้ทุกวันอาทิตย์เว้นอาทิตย์