วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

อาการเพลียเรื้อรัง

อาหารกับอาการเพลียเรื้อรัง/ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 กันยายน 2555 10:55 น.
 
คุณเคยมีอาการเหล่านี้หรือไม่?
     
       เหนื่อยเป็นประจำ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีความรู้สึกซึมเศร้า แม้ว่าจะนอนมาทั้งคืนแล้วก็ยังไม่หาย อาการเป็นๆ หายๆ แต่จะเป็นมากกว่าหาย จนไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี

อาการเหล่านี้อาจมาจากสาเหตุของอาการเพลียเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome : CFS) ที่เกิดจากความผิดปกติจากระบบกลไกของร่างกาย โดยปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถหาระบุสาเหตุได้แน่ชัด เมื่อเป็นโรคนี้จะส่งผลให้เกิดความอ่อนล้า เหนื่อยง่าย จนกลายเป็นอาการเรื้อรัง อาการนี้สามารถเกิดได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ บางการศึกษาระบุสาเหตุว่าอาจเกิดจากการที่มีโรคเรื้อรังอื่นมาก่อนและทำให้ ร่างกายเกิดกลไกสร้างความเครียดให้กับร่างกาย หรือบางการศึกษาระบุว่าเป็นเรื่องของจิตใจที่ไม่สามารถควบคุมได้
     
       อาการของโรคเพลียเรื้อรัง
     
       - มีอาการอ่อนเพลียที่เป็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือนสำหรับเด็กหรือวัยรุ่น และมากกว่า 4 เดือนขึ้นไปสำหรับวัยผู้ใหญ่
       - นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ ฝันร้าย หรือตื่นมาตอนดึกและไม่สามารถนอนต่อได้ เป็นประจำ
       - ปวดกล้ามเนื้อ หรือเมื่อยล้าบริเวณกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณคอและบ่า
       - ปวดหัว
       - ไม่มีสมาธิ
       - ความจำแย่ลง
       - อาหารไม่ย่อย มีลมในกระเพาะอาหารเป็นประจำ
       - แพ้อาหารที่ไม่เคยแพ้มาก่อน เช่น ข้าว ขนมปัง ไข่ ถั่วเหลือง โดยอาการแพ้อาจแสดงออกเช่น คลื่นไส้ มีผื่นขึ้นตามตัว ท้องเสียเป็นต้น
       - อยากกินของหวาน ขนมหวาน น้ำตาลอยู่เป็นประจำ
     
       แม้ว่ายังไม่มีอาหารที่สามารถช่วยรักษาอาการเพลียเรื้อรังให้หายขาด ได้ แต่การรับประทานอาหารที่ถูกต้องสามารถช่วยลดอาการเพลียเรื้อรังได้ ช่วยให้มีความรู้สึกที่สดชื่นขึ้น และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายทำให้ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น ตามมา
     
       อาหารที่ควรรับประทาน
     
       - รับประทานอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตในทุกมื้ออาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวฟ่าง ข้าวโอ๊ต เผือก มัน ข้าวโพด มันฝรั่งทั้งเปลือก ขนมปังโฮลวีต ธัญพืชไม่ขัดสี เหตุผลที่เลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เพราะจะมีค่าของดัชนีน้ำตาลต่ำทำให้ร่างกายค่อยๆ ได้รับน้ำตาล และช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล ทำให้ลดอาการต่างๆ ลงได้
     
       - รับประทานผักผลไม้ทุกวันโดยพยายามให้ได้ผักทุกมื้ออาหาร มื้อ ละอย่างน้อย 1 ทัพพี และผลไม้ 3-5 ส่วน (1 ส่วนเช่น ส้มเขียวหวาน 1 ลูก ชมพู่ 2 ลูก แอปเปิ้ลเล็ก 1 ลูก ฝรั่ง ½ ผล มะละกอสุก 6 ชิ้น กล้วย 1 ลูก) ผักและผลไม้เป็นแหล่งของสารอาหารที่มีประโยชน์และมีสารพฤกษาเคมีที่ช่วยเร่ง ให้ร่างกายต่อสู้กับอาการเพลียเรื้อรังรวมทั้งอาการข้างเคียง
     
       - รับประทานโปรตีนให้เพียงพอและเลือกโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เนื่อง จากร่างกายประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 20% ของทั้งร่างกาย และโปรตีนยังมีความสำคัญต่อการสร้างฮอร์โมน เอนไซม์ และแอนติบอดีของร่างกาย จากงานวิจัยพบว่า ผู้ที่ขาดโปรตีนในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาของอาการเพลียเรื้อรังจะมีอาการที่หนัก มากกว่าผู้ที่ได้รับโปรตีนเพียงพอ เช่นผู้ที่ขาดโปรตีนจะมีอาการปวดของกล้ามเนื้อคอและหลังมากกว่าผู้ที่ได้รับ โปรตีนเพียงพอ
     
       - โกโก้และดาร์กช็อกโกแลตในปริมาณเล็กน้อยต่อวัน จากการศึกษาพบว่า สารโพลีฟีนอลที่มีอยู่ในโกโก้และดาร์กช็อกโกแลตจะทำให้ร่างกายผ่อนคลายและลด ความเครียด (แต่เนื่องจากโกโก้และดาร์กช็อกโกแลตมีคาเฟอีนอยู่ด้วยจึงไม่ควรรับประทานใน ปริมาณมาก)
     
       - ดื่มน้ำให้ได้วันละ 8-10 แก้ว (เน้น ทีน้ำเปล่าหรือน้ำสมุนไพรที่ไม่มีการเติมน้ำตาล) การที่ร่างกายขาดน้ำจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย และปวดหัวได้ง่ายอยู่แล้ว ยิ่งในผู้ที่มีปัญหาอาการเพลียเรื้อรังหากขาดน้ำอาการจะแย่ลง
     
       อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
       

       - อาหารที่ให้ไขมันสูง เช่น อาหารทอดน้ำมัน อาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีน้ำตาลสูง
       - อาหารที่มีการส่วนผสมของผงชูรส
       - อาหารหวานจัด อาหารเชื่อม
       - อาหารรสเค็มจัด
       - อาหารและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เนื่องจากรบกวนการทำงานของระบบประสาททำให้ร่างกายตื่นตัวและอาจทำให้รู้สึก อ่อนเพลียมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้บางการศึกษาระบุว่าเครื่องดื่มกาเฟอีนมีผลต่อการนอนหลับพักผ่อนทำ ให้นอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท