วาฬ: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเล
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มิถุนายน 2554 08:10 น.
มนุษย์รู้สึกประทับใจในความมโหฬารของวาฬมานานนับพันปีแล้ว ภาพวาดอายุ 3,000 ปีที่ปรากฏบนผนังถ้ำในนอร์เวย์ แสดงให้เห็นว่า ชาวไวกิงในสมัยนั้นรู้จักล่าวาฬเป็นอาหาร และรู้จักนำกระดูกไปแกะสลักเป็นเครื่องประดับสำหรับสวมใส่ ชนเผ่า Basque ในสเปนเมื่อหนึ่งพันปีก่อน ก็รู้จักบริโภคเนื้อวาฬเป็นอาหารเช่นกัน เรือ Mayflower ที่ใช้อพยพคนอังกฤษไปอเมริกาเมื่อ 400 ปีก่อน ก็เป็นเรือล่าวาฬ
วาฬมิใช่ปลา ทั้งๆ ที่มีหางและอาศัยอยู่ในน้ำ การดูเผินๆ ทำให้แม้แต่ปราชญ์ Aristotle ก็ยังหลงผิด แต่การเข้าใจผิดนี้ได้รับการแก้ไขในปี 2236 เมื่อนักชีววิทยาชาวอังกฤษชื่อ John Ray ได้พิสูจน์ว่า วาฬมิใช่ปลา แต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีเลือดอุ่น ออกลูกเป็นตัว และเลี้ยงลูกอ่อนด้วยนมเช่นเดียวกับคน แมว และม้า แม้โลกจะมีแมวน้ำและวอลรัสที่ต่างก็เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในทะเล แต่สัตว์ทั้งสองชนิดนี้เวลาจะออกลูก มันจะคลานขึ้นบก ส่วนวาฬ ไม่ว่าจะออกลูก เลี้ยงลูก จะอยู่ในทะเลตลอดเวลา
โลกมีตำนานเล่าเกี่ยวกับวาฬมากมาย เช่นคัมภีร์ไบเบิลของคริสต์ศาสนาได้กล่าวถึงเหตุการณ์หนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวาฬว่า เมื่อพระเจ้าโปรดให้ Jonah เดินทางไปเมือง Nineveh แห่งอาณาจักร Assyria เพื่อห้ามชาวเมืองมิให้ทำบาปและประพฤติชั่ว Jonah มิได้รู้สึกปีติยินดีแม้แต่น้อย เขาได้หลบหนีไปกับเรือมุ่งหน้าสู่เมือง Tarshish แต่ขณะเดินทาง เรือถูกพายุพัดกระหน่ำจนเหล่ากะลาสีแตกตื่น และตระหนกตกใจกลัวว่าพระเจ้าจะลงโทษ จึงได้พร้อมใจกันโยน Jonah ลงทะเลเพื่อให้พระเจ้าทรงพอพระทัย Jonah ถูกวาฬกลืนเข้าไปในกระเพาะ หลังจากนั้นเป็นเวลานานสามวันสามคืน วาฬได้สำรอก Jonah ออกมาบนฝั่ง การเกือบสิ้นชีวิตในครั้งนั้นทำให้ Jonah สำนึกผิด จึงออกเดินทางไปเมือง Nineveh ทันทีอย่างไม่บิดพลิ้วอีกเลย และได้บอกชาวเมืองว่า ถ้าพวกเขาไม่เปลี่ยนพฤติกรรม พระเจ้าจะลงโทษ ชาวเมืองก็เชื่อฟัง
ในนวนิยายเรื่อง Moby Dick ของ Herman Melville ซึ่งถูกประพันธ์ในปี 2394 ก็ได้กล่าวถึงกัปตัน Ahab ว่ามีความประสงค์จะล่าวาฬสีขาวเจ้าเล่ห์ชื่อ Moby Dick ที่เคยกัดขาข้างหนึ่งของตนจนขาด ในการต่อสู้ระหว่างลูกเรือกับวาฬปิศาจชื่อ Moby Dick บรรดานักล่าวาฬได้ใช้ฉมวกทิ่มแทง Moby Dick หลายครั้งจนมันรู้สึกโกรธมาก ก่อนตายมันจึงใช้กำลังล่มเรือ ทำให้ลูกเรือจมน้ำตายเกือบหมด มีรอดชีวิตมาได้เพียงคนเดียว Melville ได้เขียนนวนิยายเรื่องนี้โดยใช้ประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานในเรือล่าวาฬ นวนิยายคลาสสิกเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายให้ผู้อ่านตระหนักในภัยอันตรายที่เกิดจากการล้างแค้น
นักชีววิทยาพบว่าโลกมีวาฬ 83 พันธุ์ เช่น วาฬครีบ (fin whale) วาฬเบลูกา (beluga whale) วาฬเพชฌฆาต (killer whale) วาฬหลังโหนก (humpback whale) วาฬหัวทุย (sperm whale) และวาฬไรต์ (right whale) ซึ่งสามารถพบเห็นได้ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก วาฬเป็นสัตว์น้ำที่ต้องการอากาศหายใจ แต่ก็มิอาจดำรงชีวิตบนบกได้
เมื่อดูเผินๆ วาฬมีรูปร่างคล้ายตอร์ปิโด ตามีขนาดเล็ก และอยู่ข้างกะโหลก ทำให้มองตรงไปข้างหน้าไม่ได้ ดวงตามีไขหล่อลื่นตลอดเวลา น้ำเค็มจึงไม่เป็นอันตรายต่อตา ตามปรกติตาจะเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใต้น้ำได้ดีกว่าเหนือน้ำ วาฬไม่มีคอ มีจมูกอยู่ด้านบนของหลัง หางที่ทรงพลังของมันไม่มีกระดูก มีแต่กล้ามเนื้อ หน้าที่หลักของหางคือช่วยในการทรงตัวและว่ายน้ำ โดยเฉพาะวาฬเพชฌฆาตนั้นนับเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลก ด้วยความเร็วถึง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
การมีลำตัวเรียบทำให้มันว่ายแหวกน้ำได้เรียบและเร็ว ใต้ผิวหนังมีไขมันเป็นชั้นหนา ไขมันช่วยให้ตัววาฬอบอุ่นขณะว่ายน้ำในทะเลแถบขั้วโลก อุณหภูมิร่างกายของวาฬสูงประมาณ 39 องศาเซลเซียส การมีไขมันมากทำให้ลำตัวไม่จำเป็นต้องมีขนปกคุลม แม้จะไม่มีใบหู แต่มันก็มีรูหูเล็กๆ รูหนึ่งอยู่บนหัว เวลาหายใจมันจะว่ายน้ำขึ้นมาหายใจที่ผิวน้ำเป็นจังหวะ เพราะเลือดวาฬดูดซึมออกซิเจนได้มากกว่าเลือดสัตว์บกอื่นๆ มันจึงสามารถดำน้ำได้ลึกมาก เวลาจะดำน้ำ มันจะหายใจเอาอากาศเข้าจนเต็มปอด แล้วดำดิ่งลงเป็นเวลานาน 15-20 นาที ขณะอยู่ใต้น้ำ อากาศในปอดจะได้รับความร้อนและมีความชื้นปริมาณมาก ดังนั้นเวลามันหายใจออก ไอน้ำที่ถูกปล่อยออกเมื่อปะทะอากาศเย็นจะกลั่นตัวเป็นหมอกให้เราเห็น ลมหายใจออกของวาฬจึงมีลักษณะคล้ายน้ำพุแต่ไม่ใช่น้ำพุ
วาฬเป็นสัตว์สังคมที่ชอบว่ายน้ำเป็นฝูง วาฬขนาดใหญ่ที่อาศัยในทะเลลึกจะไม่หากินใกล้ฝั่ง แต่วาฬที่มีขนาดเล็กกว่าชอบล่าเหยื่อตามชายฝั่ง การศึกษาฟอสซิลทำให้เรารู้ว่า วาฬเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่โลกเคยมี โดยเฉพาะปลาวาฬสีน้ำเงินอาจมีลำตัวยาวถึง 35 เมตร คือยาวกว่าไดโนเสาร์ Tyrannosaurus Rex ถึง 5 เท่า และมีปริมาตรลำตัวเท่ากับวัว 150 ตัว หรือช้าง 25 ตัว การมีขนาดใหญ่เช่นนี้ เนื่องจากกระดูกในลำตัวไม่จำเป็นต้องรองรับน้ำหนักตัวมันทั้งหมด เพราะมีแรงพยุงจากน้ำทะเลช่วย ด้วยเหตุนี้กระดูกวาฬจึงพรุนและไม่แข็งแรง ดังนั้นเวลาวาฬว่ายน้ำเกยตื้น น้ำหนักตัวที่มากมหาศาลจะกดปอด และกระดูกทำให้มันหายใจไม่ออกจึงตายในที่สุด เวลากินอาหาร วาฬมักกลืนอาหารทั้งชิ้นโดยไม่เคี้ยว ช่องคอวาฬบางพันธุ์มีขนาดใหญ่จึงสามารถกลืนคนได้ทั้งตัว แต่วาฬบางพันธุ์มีช่องคอเล็ก วาฬหัวทุยชอบกินหมึก ส่วนวาฬเพชฌฆาตชอบกินแมวน้ำ และนกเพนกวินมาก จนชาวประมงจัดมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อที่ดุร้ายที่สุดในโลก กระเพาะของวาฬมีโครงสร้างที่ซับซ้อน บางพันธุ์มีช่องในกระเพาะถึง 14 ช่อง แต่บางพันธุ์ก็มีเพียง 4 ช่อง
วาฬออกลูกคราวละตัวในน้ำ โดยให้หางของลูกออกมาก่อน ลูกวาฬที่คลอดใหม่มีสภาพเป็นปลาอย่างสมบูรณ์ มันสามารถว่ายน้ำรวมกลุ่มกับวาฬที่เติบโตเต็มที่ได้ทันที แม่วาฬจะให้นมลูกดื่มนานประมาณ 6 เดือน เพราะนมวาฬมีโปรตีนและสารอาหารสมบูรณ์ ดังนั้นลูกวาฬจึงเจริญเติบโตเร็ว พออายุได้ 3 ปีมันก็พร้อมสำหรับการเจริญพันธุ์ แต่นักชีววิทยาถือว่ามันจะเจริญเต็มที่เมื่อมีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป วาฬที่มีขนาดใหญ่จะผสมพันธุ์ปีเว้นปี และแม้จะมีขนาดใหญ่ แต่วาฬบางพันธุ์ก็อายุสั้น วาฬ baleen มีอายุประมาณ 20 ปี ในขณะที่มนุษย์มีอายุขัยประมาณ 70 ปี วาฬจับเหยื่อโดยใช้ระบบโซนาร์เช่นเดียวกับค้างคาว คือมันจะฟังเสียงสะท้อนจากเหยื่อ ซึ่งจะบอกรูปร่างและตำแหน่งของเหยื่อให้มันรู้ และเมื่อถึงฤดูสืบพันธุ์ วาฬตัวผู้จะร้องเพลงครวญคราง เสียงวาฬที่มีความถี่ต่ำสามารถเดินทางในน้ำได้ไกลเป็นร้อยกิโลเมตร มันใช้เสียงในการสื่อสารให้ตัวเมียรับรู้ วาฬบางพันธุ์เช่น วาฬสีเทาชอบอพยพโดยเฉพาะในฤดูหนาว มันจะว่ายน้ำจากชายฝั่งของประเทศเม็กซิโกไปอาศัยในทะเล Alaska ในฤดูร้อน มันจึงเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อพยพไกลที่สุดที่มนุษย์รู้จัก แม้เราจะรู้พฤติกรรมและธรรมชาติความเป็นอยู่ของวาฬมากก็ตาม แต่ก็มีพฤติกรรมหนึ่งของวาฬที่นักชีววิทยายังงุนงง และอธิบายได้ไม่ดีนักพฤติกรรมนั้นคือ การฆ่าตัวตายหมู่ ซึ่งบางครั้งอาจมีจำนานมากถึง 100 ตัว ซึ่งได้พยายามขึ้นมาตายบนฝั่งพร้อมๆ กัน และแม้มนุษย์จะลากตัวมันลงน้ำ เพื่อให้มันหายใจและมีชีวิตอยู่ต่อไป มันก็ไม่ยอมลงน้ำ แต่จะว่ายกลับมาทำอัตวินิบาตกรรมอยู่ดี
ในการศึกษาธรรมชาติการว่ายน้ำของวาฬ A.R. Martin แห่งหน่วยวิจัยด้าน Sea Mammalsa ของ Natural Environment Research Council ในประเทศอังกฤษได้พบว่า เวลาวาฬต้องการลอดใต้ภูเขาน้ำแข็งในทะเล มันจะว่ายดำเฉียงลงไปลึกประมาณ 1 กิโลเมตร แล้วว่ายเฉียงกลับขึ้นสู่ผิวน้ำอีกเป็นรูปตัว V Martin คิดว่า การว่ายน้ำลักษณะนี้ที่ระดับลึกมาก ทำให้มันเห็นช่องว่างระหว่างภูเขาน้ำแข็งซึ่งจะเป็นที่ที่มันสามารถโผล่ขึ้นหายใจได้ และเวลามันว่ายน้ำ มันใช้กำลังประมาณ 520 แรงม้า ด้วยความเร็ว 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เพราะเหตุว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแทบทุกชนิดอาศัยอยู่บนบก วาฬซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งหลับมีนิวาสสถานในน้ำ ดังนั้นนักชีววิทยาจึงใคร่รู้จักสัตว์ที่เป็นต้นตระกูลของวาฬ
การขุดฟอสซิลเพื่อค้นหาต้นตระกูลของวาฬ ได้ทำให้ H. Thewissen แห่ง Northern Ohio College of Medicine ในสหรัฐอเมริกา พบซากฟอสซิลดึกดำบรรพ์อายุ 49 ล้านปีของบรรพสัตว์แห่งวาฬ ในวารสาร Science ฉบับเดือนเมษายนปี 2535 เขาได้รายงานการพบที่หมู่บ้าน Ganda Kas ในหุบเขา Kala Chitta แห่งแคว้นปัญจาบของปากีสถานว่า โครงกระดูกที่มีความยาว 3 เมตร และหนัก 300 กิโลกรัมนี้ มีกระดูกขาหน้าสั้นอยู่ติดลำตัว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Ambulocetus natans ตัวนี้เคลื่อนที่โดยใช้ขาหน้าเวลามันอยู่บนบกเพื่อยกตัวแล้วลากท้องไปตามพื้นดินเหมือนสิงโตทะเล และใช้ขาหลังที่มีขนาดใหญ่และแข็งแกร่งในการว่ายน้ำ การวิเคราะห์ทำให้ Thewissen สรุปว่า บรรพสัตว์ของวาฬเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างงุ่มง่าม และเคลื่อนที่ได้ช้าเวลาอยู่บนบก การหาอาหารได้อย่างยากลำบากขณะอยู่บนบก ทำให้มันต้องลงหาอาหารในน้ำเพราะมันว่ายน้ำได้คล่อง ดังนั้นเมื่อ 45 ล้านปีก่อนนี้ มันจึงพากันอพยพลงน้ำ แล้วดำรงชีวิตเป็นวาฬอย่างสมบูรณ์แบบตั้งแต่นั้นมา
การสืบค้นประวัติความเป็นมาของวาฬทำให้เรารู้เพิ่มว่าเมื่อ 65 ล้านปีก่อนนี้ โลกมีสัตว์เท้ากีบชนิดหนึ่งชื่อ Diacodexis ซึ่งได้วิวัฒนาการไปเป็น Pakicetus และได้กลายเป็น Ambulocetus ซึ่งเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จากนั้นขาหลังของ Ambulocetus ก็หดหายไปจนเกือบหมดเป็น Dorudon ที่มีหางยาว และอาศัยอยู่ในน้ำเต็มตัว จากนั้นก็ได้วิวัฒนาการเป็น Balaena ซึ่งก็คือวาฬปัจจุบัน
วาฬเป็นสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์มาก มนุษย์รู้จักล่าวาฬมานานร่วม 800 ปีแล้ว เพราะพบว่าไขวาฬสามารถนำมาทำน้ำมันเชื้อเพลิง สบู่ ครีมล้างหน้า เนยเทียม และใช้หยอดเป็นน้ำมันเครื่องได้ ส่วนเนื้อวาฬนั้นก็นับเป็นอาหารที่โอชะสำหรับชาวญี่ปุ่น และสาร ambergris ที่พบในลำไส้ของวาฬหัวทุย เป็นสารประกอบที่ใช้ในการทำน้ำหอม เพราะประกอบด้วย sodium chloride, lime phosphate, alkaloids acid และ ambrin ซึ่งเวลาได้รับความร้อนจะอ่อนตัว และหาอุณหภูมิสูงจะระเหยและมีกลิ่นหอม
ทุกวันนี้ อุตสาหกรรมล่าวาฬเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่ทำกันมากในนอร์เวย์ ญี่ปุ่น และไอซ์แลนด์ จนทำให้วาฬบางพันธุ์เกือบสูญพันธุ์ เพราะถูกมนุษย์ล่าเป็นอาหาร ดังนั้นในปี 2509 องค์การ International Whaling Commission (IWC) จึงได้ถือกำเนิดเพื่อควบคุมการล่าวาฬ องค์กรนี้ได้ออกกฎหมายควบคุมการจับวาฬที่มีขนาดไม่เหมาะสม และห้ามจับวาฬในขณะที่มันมีท้อง แต่ถ้าจะต้องล่า ก็ให้ล่าเฉพาะวาฬที่มีไขมันมากเท่านั้น
ในการประชุมประจำปีของ IWC ที่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ที่ประชุมได้พิจารณามาตรการลดจำนวนวาฬที่ตายเพราะติดแห และที่ได้รับบาดเจ็บเพราะถูกเรือพุ่งชนอย่างไม่ตั้งใจ รวมทั้งการลดปริมาณมลพิษในทะเลที่วาฬอาศัย และเสนอมาตรการตรวจ DNA ของวาฬทุกตัวที่จับได้ เพื่อป้องกันการล่าวาฬบางพันธุ์เป็นอาหารซึ่งผิดกฎหมายระหว่างประเทศ และเพื่อให้มาตรการตรวจ DNA ได้ผล ที่ประชุมได้เสนอให้เรือล่าวาฬทุกลำมีผู้เชี่ยวชาญด้านDNA ประจำ
แต่ก็ดูเหมือนว่า IWC จะเป็นเสือกระดาษ เพราะประเทศสมาชิกหลายประเทศได้ตัดสินใจที่จะมีองค์กรที่เกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นของตนเอง และบางชาติก็อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ซึ่งประกาศจะล่าจับวาฬอีกในเดือนสิงหาคมและกันยายนศกนี้ โดยอ้างว่าเพื่อการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และจะเริ่มล่าวาฬเพื่อการค้าในอีกสามปีข้างหน้า เหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลไอซ์แลนด์อ้างคือ ณ วันนี้ ทะเลรอบเกาะไอซ์แลนด์มีวาฬจำนวนมากจนทำให้ปลาชนิดอื่นจำนวนมากถูกวาฬจับกินเป็นอาหาร ซึ่งมีผลทำให้ชาวประมงไอซ์แลนด์มีรายได้ลดลงมาก
ในการล่าวาฬคราวนี้ ชาวประมงไอซ์แลนด์จะล่าวาฬพันธุ์ minke 100 ตัว พันธุ์ fin 100 ตัว และพันธุ์ sei 50 ตัว โดยใช้เวลาสองปี ทันทีที่รู้ข่าวนี้ องค์การกองทุนเพื่อธรรมชาติโลก (World Wide Fund for Nature) ได้ออกมาประท้วงรัฐบาลไอซ์แลนด์ที่อ้างเรื่องการวิจัยวิทยาศาสตร์มาบังหน้า และเรียกร้องให้ระงับการล่าวาฬเพื่อปกป้องสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดนี้
ในวารสาร Science ฉบับวันที่ 25 กรกฎาคม 2550 Joe Roman แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา ได้รายงานว่า ในการใช้ mitochondrial DNA ตรวจสอบประวัติความเป็นมาของปลาวาฬ เขาและคณะได้ตรวจพบว่า ในอดีตเมื่อ 200 ปีก่อน โลกเคยมีปลาวาฬหลังโหนกจำนวนมากกว่าที่เคยคิดถึง 10 เท่า (คือประมาณ 240,000 ตัว) และนั่นก็หมายความว่า ที่ผ่านมามนุษย์ได้ล่าวาฬไปมากกว่าที่คิด เพราะ ณ วันนี้ เรามีวาฬหลังโหนกเหลืออยู่เพียงหมื่นตัวเท่านั้นเอง
แต่ก็มีนักวิจัยอีกหลายคนที่ไม่ยอมรับการวิเคราะห์นี้ เพราะเท่าที่ปรากฏ วิธีวิเคราะห์มีความผิดพลาด และไม่มีใครรู้จำนวนวาฬที่แท้จริงว่ามีมากเพียงใด อีกทั้งวิธีการนับวาฬนั้นก็อาจผิดพลาด นอกจากนี้ความต้องการเนื้อวาฬของตลาดโลกก็ขึ้นๆ ลงๆ และเทคนิคการล่าวาฬก็เปลี่ยนตามกาลเวลา ปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีส่วนทำให้จำนวนประชากรวาฬไม่แน่นอน จนใครก็ทำนายไม่ได้แม่นยำ
ดังนั้นคนเหล่านี้จึงคิดว่าวาฬไม่ใกล้สูญพันธุ์จริง ปัญหาวาฬจึงนับว่ายิ่งใหญ่เท่าขนาดตัวมันครับ
สุทัศน์ ยกส้าน เมธีวิจัยอาวุโส สกว.
วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554
จันทรุปราคา
เตรียมชม “จันทรุปราคาเต็มดวง” ครั้งแรกในรอบ 4 ปี
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มิถุนายน 2554 00:49 น.
ดวงจันทร์จะเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐเมื่อจันทรุปราคาเต็มดวง (สดร.)
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ภาพดวงจันทร์ระหว่างเกิดจันทรุปราคาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดปรากฏการณ์ (สดร.)
ภาพปรากฏดวงจันทร์ในเงามืด (เทาเข้ม) และเงามัว (เทาอ่อน) ระหว่างเกิดจันทรุปราคา (สดร.)
ตำแหน่งดวงจันทร์บนท้องฟ้าขณะเกิดจันทรุปราคา
ภาพจำลองขณะดาวฤกษ์ 51 โอฟีอุชี ถูกดวงจันทร์บัง โดยผู้สังเกตใน จ.เชียงใหม่และกรุงเทพฯ จะเห็นปรากฏการต่างกัน (สดร.)
ตารางแสดงเวลาเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบังดาวฤกษ์ (สดร.)
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา
ย่ำรุ่งวันที่ 16 มิ.ย.นี้จะเป็นครั้งแรกที่คนไทยจะได้ชมปรากฏการณ์ “จันทรุปราคาเต็มดวง” ในรอบ 4 ปี และยังมาพร้อมปรากฏการณ์พิเศษอย่างการบังดาวฤกษ์ระหว่างเกิดคราสซึ่งเกิดขึ้นได้น้อยมาก อีกทั้งปรากฏการณ์นี้ยังเกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนผ่านใจกลางทางช้างเผือกด้วย
จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ เป็นปรากฏการณ์ที่ ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวว่ามีความพิเศษเพราะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดคราสเต็มดวงนานเกิน 100 นาที และระหว่างเกิดคราสดวงจันทร์ยังเคลื่อนผ่านใจกลางทางช้างเผือกด้วย อีกทั้งยังเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่คนไทยจะได้ชมอีกด้วย โดยปีนี้มีปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงให้ชมถึง 2 ครั้ง ซึ่งครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 10 ธ.ค.
เตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่คืนที่ 15 มิ.ย.
จากข้อมูลเอกสารปรากฏการณ์จันทรุปราคา (Lunar Eclipse 2011) สดร. ในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่ 00.26 น. หรือหลังจากผ่านเที่ยงคืนวันที่ 15 มิ.ย. แต่ในช่วงดังกล่าวซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์จันทรุปราคานั้น เป็นช่วงที่เราสังเกตได้ยาก โดยเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อดวงจันทร์เริ่มสัมผัสเงามืดของโลก เวลา 01.25 น.ซึ่งดวงจันทร์จะเริ่มแหว่ง
เวลา 02.25 น.เริ่มเกิดอุปราคาเต็มดวงเมื่อขอบดวงจันทร์ทั้งสองด้านผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก และในเวลา03.14 น.ดวงจันทร์จะเข้าไปอยู่กึ่งกลางเงามืดของโลก เรียกเหตุการณ์ดังกล่าวว่า กึ่งกลางอุปราคา (Greatest eclipse) เรายังคงเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงไปจนถึงเวลา 04.04 น.ซึ่งดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด และดวงจันทร์จะออกจากเงามืดทั้งหมดเวลา 05.04 น. และสิ้นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเวลา 06.02 น.
5 ลำดับความสว่างจันทรุปราคาเต็มดวง
ทั้งนี้ ระหว่างเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงเราจะเห็นดวงจันทร์เปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ หรือบางอาจจะเรียกว่าพระจันทร์สีเลือด สำหรับสาเหตุที่จันทร์เต็มดวงไม่มืดสนิทนี้ หาคำตอบได้จากบทความ “รู้ไหมว่า? ทำไม “จันทรุปราคาเต็มดวง” จึงเป็นสีแดงอิฐ” โดยความสว่างของจันทรุปราคาตามมาตราดังชง (Danjon Scale) ที่เสนอโดย อังเดร หลุยส์ ดังชง (Andre-Louis Danjon) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ใช้สัญลักษณ์ L แทน ความสว่าง (Luminosities) แบ่งได้เป็น 5 ระดับ
เมื่อ L = 0 แสดงถึงจันทรุปราคาที่มืดมากจนเกือบมองไม่เห็นดวงจันทร์ , L = 1 แสดงถึงจันทรุปราคามีความมืดในระดับที่เห็นเป็นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ,L = 2 แสดงถึงจันทรุปราคาที่เป็นสีแดงเข้มหรือสีสนิมคราส , L = 3 แสดงถึงจันทรุปราคาที่เป็นสีแดงอิฐ และ L = 4 แสดงถึงจันทรุปราคาที่สว่างมาก มีทองแดงหรือสีส้ม
พิเศษ! เกิดจันทร์บังดาวฤกษ์ระหว่างจันทรุปราคา
นอกจากจันทรุปราคาครั้งนี้จะเกิดคราสนานชั่วโมงกว่าๆ แล้ว ยังเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบังดาวฤกษ์ เนื่องจากดวงจันทร์เคลื่อนผ่านทางใต้ของกลุ่มดาวคนแบกงู (Ophiuchus) แล้วเคลื่อนไปบังดาวฤกษ์ 51 โอฟีอุชี (Ophiuchi) หรือ 51 คนแบกงู พอดี โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงใกล้ๆ อุปราคาเต็มดวง ซึ่งผู้สังเกตใน จ.ชุมพรขึ้นไปจะเห็นปรากฏการณ์นี้ได้ และตรวจสอบเวลาได้ในตารางการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบังดาวฤกษ์ 51 โอฟีอุชี
“ตามเวลา ณ เชียงใหม่ ดาวฤกษ์ 51 โอฟีอุชี เริ่มหายเข้าไปหลังดวงจันทร์สีแดงอิฐในเวลา 02.08 น. แล้วจะโผล่พ้นดวงจันทร์ออกมาในเวลา 02.12 น. ปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ตั้งแต่ จ.เชียงใหม่ ลงไปถึง จ.ชุมพร ส่วนจังหวัดที่อยู่ใต้ลงไปจะเห็นเพียงจันทรุปราคาเฉียดดาวฤกษ์เท่านั้น” ดร.ศรัณย์ ยกตัวอย่างการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคราบังดาวฤกษ์ที่ จ.เชียงใหม่
ทั้งนี้ ดาว 51 โอฟีอุชีนั้นอยู่ในตำแหน่ง “หัวเข่า” ของกลุ่มดาวคนแบกงู เป็นดาวฤกษ์สีขาวขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 426.35 ปีแสง สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าแต่ไม่ชัดนัก ซึ่งรองผู้อำนวยการ สดร.ระบุว่าปรากฏการณ์บังดาวฤกษ์นั้นเกิดขึ้นเป็นปกติบนท้องฟ้า แต่น้อยครั้งที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
สดร.จัดเต็มถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ 3 ภาค เหนือ-กลาง-ใต้
สำหรับการเกิดปรากฏการณ์จันทรปุราคาครั้งนี้ ทาง สดร.ได้ร่วมมือกับเครือข่าวดาราศาสตร์ใน จ.ฉะเชิงเทราและ จ.สงขลา จัดกิจกรรมและตั้งจุดสังเกตปรากฏการณ์ 3 แห่ง คือ 1.บริเวณดาดฟ้า ชั้น 3 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จ.เชียงใหม่ 2.หอดูดาวบัณฑิต จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งทางหอดูดาวยังได้ร่วมมือกับ ร.ร.เบญจมราชรังสฤษฏิ์, ร.ร.ไผ่แก้ววิทยา จ.ฉะเชิงเทรา และ ร.ร.ชลราษฎรอำรุง จ.ชลบุรี จัดกิจกรรมและตั้งกล้องโทรทรรศน์สำหรับสังเกตปรากฏการณ์ และ 3.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จ.สงขลา
ทั้งนี้ ติดตามการถ่ายทอดสดปรากฏการณ์จันทรุปราคาผ่านอินเทอร์เน็ตจากจุดสังเกตุทั้ง 3 แห่งได้ที่ http://118.174.34.82/lunar/
เกิดจันทรุปราคาได้อย่างไร?
องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดจันทรุปราคาคือ “เงาของโลก” ซึ่งเมื่อดวงอาทิตย์ส่องมายังโลกที่เป็นวัตถุทึบแสง จะทำให้เกิดเงาทอดไปในอวกาศ และเมื่อดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเงาโลกเราจึงได้เห็นปรากฏการณ์อุปราคาดังกล่าว โดยเงาโลกมีส่วน 2 ส่วน คือ เงามืด (Umbra Shadow) ซึ่งเมื่อลากเส้นสัมผัสจากดวงอาทิตย์ผ่านโลกจะได้ลักษณะเงาทอดเป็นกรวยแหลม และเงามัว (Penumbra Shadow) ซึ่งเมื่อลากเส้นสัมผัสโดยให้เกิดจุดตัดระหว่างโลกและดวงอาทิตย์จะได้ลักษณะเงาถ่างออก
ข้อมูลจากเอกสารจันทรุปราคาของ สดร.ระบุอีกว่า ในแต่ละปีจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงประมาณ 1-2 ครั้ง และในปีที่ดวงจันทร์เต็มดวงถึง 13 ครั้ง ซึ่งมีบางเดือนที่เกิดจันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้งและเรียกปรากฏการณ์ในเดือนนั้นว่า “บลูมูน” (Blue Moon) จะเกิดจันทรุปราคาสูงสุดถึง 4 ครั้ง แต่ในปีดังกล่าวจะไม่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง
รู้จักจันทรุปราคาทุกรูปแบบ
จันทรุปราคาแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ 1.จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) คือ ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกทั้งดวง ซึ่งดวงจันทร์จะค่อยมืดหายไปทั้งดวงแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐเมื่อคราสบังเต็มดวง 2.จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Lunar Eclipse) คือปราฏการณ์ที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเงามืดและเงามัว โดยเห็นดวงจันทร์มืดปเพียงบางส่วน เท่านั้น และ 3.จันทรุปราคาเงามัว (Penumbra Lunar Eclipse) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเขตเงามัวของโลกโดยไม่ผ่านเงามืด ซึ่งเรายังคงเห็นดวงจันทร์เต็มดวง เนื่องจากตาของเราไม่สามารถแยกแยะความความสว่างที่ลดลงไปเพียงเล็กน้อยได้
“อย่างไรก็ดี การชมปรากฏการณ์นี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ หากท้องฟ้าไม่โปร่ง มีเมฆมากก็จะไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งหากพลาดการชมปรากฎการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 16 มิ.ย.สามารถรอชมได้อีกครั้งในวันที่ 10 ธ.ค.นี้” ดร.ศรัณย์ กล่าว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มิถุนายน 2554 00:49 น.
ดวงจันทร์จะเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐเมื่อจันทรุปราคาเต็มดวง (สดร.)
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ภาพดวงจันทร์ระหว่างเกิดจันทรุปราคาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดปรากฏการณ์ (สดร.)
ภาพปรากฏดวงจันทร์ในเงามืด (เทาเข้ม) และเงามัว (เทาอ่อน) ระหว่างเกิดจันทรุปราคา (สดร.)
ตำแหน่งดวงจันทร์บนท้องฟ้าขณะเกิดจันทรุปราคา
ภาพจำลองขณะดาวฤกษ์ 51 โอฟีอุชี ถูกดวงจันทร์บัง โดยผู้สังเกตใน จ.เชียงใหม่และกรุงเทพฯ จะเห็นปรากฏการต่างกัน (สดร.)
ตารางแสดงเวลาเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบังดาวฤกษ์ (สดร.)
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา
ย่ำรุ่งวันที่ 16 มิ.ย.นี้จะเป็นครั้งแรกที่คนไทยจะได้ชมปรากฏการณ์ “จันทรุปราคาเต็มดวง” ในรอบ 4 ปี และยังมาพร้อมปรากฏการณ์พิเศษอย่างการบังดาวฤกษ์ระหว่างเกิดคราสซึ่งเกิดขึ้นได้น้อยมาก อีกทั้งปรากฏการณ์นี้ยังเกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนผ่านใจกลางทางช้างเผือกด้วย
จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ เป็นปรากฏการณ์ที่ ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวว่ามีความพิเศษเพราะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดคราสเต็มดวงนานเกิน 100 นาที และระหว่างเกิดคราสดวงจันทร์ยังเคลื่อนผ่านใจกลางทางช้างเผือกด้วย อีกทั้งยังเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งแรกในรอบ 4 ปีที่คนไทยจะได้ชมอีกด้วย โดยปีนี้มีปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงให้ชมถึง 2 ครั้ง ซึ่งครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 10 ธ.ค.
เตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่คืนที่ 15 มิ.ย.
จากข้อมูลเอกสารปรากฏการณ์จันทรุปราคา (Lunar Eclipse 2011) สดร. ในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ดวงจันทร์จะเริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่ 00.26 น. หรือหลังจากผ่านเที่ยงคืนวันที่ 15 มิ.ย. แต่ในช่วงดังกล่าวซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์จันทรุปราคานั้น เป็นช่วงที่เราสังเกตได้ยาก โดยเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อดวงจันทร์เริ่มสัมผัสเงามืดของโลก เวลา 01.25 น.ซึ่งดวงจันทร์จะเริ่มแหว่ง
เวลา 02.25 น.เริ่มเกิดอุปราคาเต็มดวงเมื่อขอบดวงจันทร์ทั้งสองด้านผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก และในเวลา03.14 น.ดวงจันทร์จะเข้าไปอยู่กึ่งกลางเงามืดของโลก เรียกเหตุการณ์ดังกล่าวว่า กึ่งกลางอุปราคา (Greatest eclipse) เรายังคงเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงไปจนถึงเวลา 04.04 น.ซึ่งดวงจันทร์เริ่มออกจากเงามืด และดวงจันทร์จะออกจากเงามืดทั้งหมดเวลา 05.04 น. และสิ้นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเวลา 06.02 น.
5 ลำดับความสว่างจันทรุปราคาเต็มดวง
ทั้งนี้ ระหว่างเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงเราจะเห็นดวงจันทร์เปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐ หรือบางอาจจะเรียกว่าพระจันทร์สีเลือด สำหรับสาเหตุที่จันทร์เต็มดวงไม่มืดสนิทนี้ หาคำตอบได้จากบทความ “รู้ไหมว่า? ทำไม “จันทรุปราคาเต็มดวง” จึงเป็นสีแดงอิฐ” โดยความสว่างของจันทรุปราคาตามมาตราดังชง (Danjon Scale) ที่เสนอโดย อังเดร หลุยส์ ดังชง (Andre-Louis Danjon) นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ใช้สัญลักษณ์ L แทน ความสว่าง (Luminosities) แบ่งได้เป็น 5 ระดับ
เมื่อ L = 0 แสดงถึงจันทรุปราคาที่มืดมากจนเกือบมองไม่เห็นดวงจันทร์ , L = 1 แสดงถึงจันทรุปราคามีความมืดในระดับที่เห็นเป็นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ,L = 2 แสดงถึงจันทรุปราคาที่เป็นสีแดงเข้มหรือสีสนิมคราส , L = 3 แสดงถึงจันทรุปราคาที่เป็นสีแดงอิฐ และ L = 4 แสดงถึงจันทรุปราคาที่สว่างมาก มีทองแดงหรือสีส้ม
พิเศษ! เกิดจันทร์บังดาวฤกษ์ระหว่างจันทรุปราคา
นอกจากจันทรุปราคาครั้งนี้จะเกิดคราสนานชั่วโมงกว่าๆ แล้ว ยังเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบังดาวฤกษ์ เนื่องจากดวงจันทร์เคลื่อนผ่านทางใต้ของกลุ่มดาวคนแบกงู (Ophiuchus) แล้วเคลื่อนไปบังดาวฤกษ์ 51 โอฟีอุชี (Ophiuchi) หรือ 51 คนแบกงู พอดี โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงใกล้ๆ อุปราคาเต็มดวง ซึ่งผู้สังเกตใน จ.ชุมพรขึ้นไปจะเห็นปรากฏการณ์นี้ได้ และตรวจสอบเวลาได้ในตารางการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบังดาวฤกษ์ 51 โอฟีอุชี
“ตามเวลา ณ เชียงใหม่ ดาวฤกษ์ 51 โอฟีอุชี เริ่มหายเข้าไปหลังดวงจันทร์สีแดงอิฐในเวลา 02.08 น. แล้วจะโผล่พ้นดวงจันทร์ออกมาในเวลา 02.12 น. ปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ตั้งแต่ จ.เชียงใหม่ ลงไปถึง จ.ชุมพร ส่วนจังหวัดที่อยู่ใต้ลงไปจะเห็นเพียงจันทรุปราคาเฉียดดาวฤกษ์เท่านั้น” ดร.ศรัณย์ ยกตัวอย่างการเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคราบังดาวฤกษ์ที่ จ.เชียงใหม่
ทั้งนี้ ดาว 51 โอฟีอุชีนั้นอยู่ในตำแหน่ง “หัวเข่า” ของกลุ่มดาวคนแบกงู เป็นดาวฤกษ์สีขาวขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 426.35 ปีแสง สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าแต่ไม่ชัดนัก ซึ่งรองผู้อำนวยการ สดร.ระบุว่าปรากฏการณ์บังดาวฤกษ์นั้นเกิดขึ้นเป็นปกติบนท้องฟ้า แต่น้อยครั้งที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
สดร.จัดเต็มถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ 3 ภาค เหนือ-กลาง-ใต้
สำหรับการเกิดปรากฏการณ์จันทรปุราคาครั้งนี้ ทาง สดร.ได้ร่วมมือกับเครือข่าวดาราศาสตร์ใน จ.ฉะเชิงเทราและ จ.สงขลา จัดกิจกรรมและตั้งจุดสังเกตปรากฏการณ์ 3 แห่ง คือ 1.บริเวณดาดฟ้า ชั้น 3 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จ.เชียงใหม่ 2.หอดูดาวบัณฑิต จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งทางหอดูดาวยังได้ร่วมมือกับ ร.ร.เบญจมราชรังสฤษฏิ์, ร.ร.ไผ่แก้ววิทยา จ.ฉะเชิงเทรา และ ร.ร.ชลราษฎรอำรุง จ.ชลบุรี จัดกิจกรรมและตั้งกล้องโทรทรรศน์สำหรับสังเกตปรากฏการณ์ และ 3.มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จ.สงขลา
ทั้งนี้ ติดตามการถ่ายทอดสดปรากฏการณ์จันทรุปราคาผ่านอินเทอร์เน็ตจากจุดสังเกตุทั้ง 3 แห่งได้ที่ http://118.174.34.82/lunar/
เกิดจันทรุปราคาได้อย่างไร?
องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดจันทรุปราคาคือ “เงาของโลก” ซึ่งเมื่อดวงอาทิตย์ส่องมายังโลกที่เป็นวัตถุทึบแสง จะทำให้เกิดเงาทอดไปในอวกาศ และเมื่อดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเงาโลกเราจึงได้เห็นปรากฏการณ์อุปราคาดังกล่าว โดยเงาโลกมีส่วน 2 ส่วน คือ เงามืด (Umbra Shadow) ซึ่งเมื่อลากเส้นสัมผัสจากดวงอาทิตย์ผ่านโลกจะได้ลักษณะเงาทอดเป็นกรวยแหลม และเงามัว (Penumbra Shadow) ซึ่งเมื่อลากเส้นสัมผัสโดยให้เกิดจุดตัดระหว่างโลกและดวงอาทิตย์จะได้ลักษณะเงาถ่างออก
ข้อมูลจากเอกสารจันทรุปราคาของ สดร.ระบุอีกว่า ในแต่ละปีจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงประมาณ 1-2 ครั้ง และในปีที่ดวงจันทร์เต็มดวงถึง 13 ครั้ง ซึ่งมีบางเดือนที่เกิดจันทร์เต็มดวงถึง 2 ครั้งและเรียกปรากฏการณ์ในเดือนนั้นว่า “บลูมูน” (Blue Moon) จะเกิดจันทรุปราคาสูงสุดถึง 4 ครั้ง แต่ในปีดังกล่าวจะไม่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง
รู้จักจันทรุปราคาทุกรูปแบบ
จันทรุปราคาแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ 1.จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) คือ ปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกทั้งดวง ซึ่งดวงจันทร์จะค่อยมืดหายไปทั้งดวงแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐเมื่อคราสบังเต็มดวง 2.จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Lunar Eclipse) คือปราฏการณ์ที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเงามืดและเงามัว โดยเห็นดวงจันทร์มืดปเพียงบางส่วน เท่านั้น และ 3.จันทรุปราคาเงามัว (Penumbra Lunar Eclipse) เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านเข้าไปในเขตเงามัวของโลกโดยไม่ผ่านเงามืด ซึ่งเรายังคงเห็นดวงจันทร์เต็มดวง เนื่องจากตาของเราไม่สามารถแยกแยะความความสว่างที่ลดลงไปเพียงเล็กน้อยได้
“อย่างไรก็ดี การชมปรากฏการณ์นี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ หากท้องฟ้าไม่โปร่ง มีเมฆมากก็จะไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งหากพลาดการชมปรากฎการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ 16 มิ.ย.สามารถรอชมได้อีกครั้งในวันที่ 10 ธ.ค.นี้” ดร.ศรัณย์ กล่าว
จันทรุปราคา
เตรียมชม “จันทรุปราคาเต็มดวง” ครั้งแรกในรอบ 4 ปี idth="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0">
|
|
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)