วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Paper Weight

The European measurement of describing paper weight measures a single paper with a two dimensional height and width of one square meter. This measurement is noted as g/m2 (gm/m2, gsm, g/m2). The measurement may be measuring a hypothetical square meter, but is a good "apples to apples" reference because it compares the weights of different size papers.

The English method of paper weight may be more familiar to people, but it has its drawbacks when comparing weights of different size paper. The English method of measurement gives the weight of the paper as if weighing 500 sheets (or a ream). Differences in the dimensions of paper are not taken into account. Therefore, the English weight of a letter size paper that is thick and dense may be the same as a poster size paper that is light and tissue thin because 500 sheets of each weight the same. It's the "which weights more, a ton of lead or a ton of feathers" quandary.

English paper grade to grammage conversion
Grammage Paper Grade (LBS.)
44 gsm 30 lb. text

59 gsm

16 lb. bond, 40 lb. text
67 gsm 45 lb. text
89 gsm 24 lb. bond, 60 lb. text
104 gsm 70 lb. text
118 gsm 80 lb. text
148 gsm 67 lb. bristol, 100 lb. text
162 gsm 60 lb. cover
163 gsm 90 lb. index
176 gsm 65 lb. cover
178 gsm 80 lb. bristol
199 gsm 110 lb. index
216 gsm 80 lb. cover
219 gsm 100 lb. bristol
253 gsm 140 lb. index
263 gsm 120 lb. bristol
270 gsm 100 lb. cover
307 gsm 140 lb. bristol
308 gsm 170 lb. index
325 gsm 120 lb. cover

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ฉายา


บางส่วนจากบทความ อหังการ ฉายาทีมลูกหนัง
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน20 มิถุนายน 2553 21:38 น.

ฉายาทีมดัง

กลุ่ม A
แอฟริกาใต้-บา ฟานา บาฟานา, Bafana Bafana (เป็นคำศัพท์ที่ใช้เรียกเด็กผู้ชายอันเป็นที่รัก ประมาณ "ไอ้หนูน้อย" ในบ้านเรา)

เม็กซิโก-จัง โก้, El Tri Colour (มาจากสีสามสีบนธงชาติเม็กซิโก ซึ่งมีความหมายดั้งเดิมสีเขียวหมายถึง เอกราช สีขาว หมายถึง ศาสนาสีแดง หมายถึง เอกภาพ แต่ภายหลังของประธานาธิบดีเบนิโต ฮัวเรซ ได้นิยามเสียใหม่ว่าสีเขียวหมายถึงความหวัง สีขาว หมายถึง เอกภาพ สีแดง หมายถึง เลือดของเหล่าวีรชน)

อุรุกวัย-จอม โหด, Charruas (เป็นชื่อชนเผ่าเผ่าหนึ่ง และในภาษากวารานี Charrua นั้นหมายถึงสับสนอลหม่าน พล่าน The Olympic Sky Blue), La Celeste (The Sky Blue)

ฝรั่งเศส-ตรา ไก่, ไก่ทองคำ, เมืองน้ำหอม, Les Blues (The Blues), L Equipe Tricolore (The Tri-color Team) มาจากสีของธงชาติฝรั่งเศส

กลุ่ม B

อาร์เจนตินา-ฟ้า ขาว, อินทรีฟ้าขาว, La Albiceleste (Albiceleste เป็นวลีในภาษาสเปนที่แปลว่าสีขาวและฟ้า ซึ่งมีที่มาจากสีเสื้อทีมชาตินั่นเอง)

ไนจีเรีย-อินทรี มรกต, Super Eagles ทั้งฉายาไทยและเทศของทีมไนจีเรีย มาจากสัญลักษณ์ของทีมที่เป็นรูปนกอินทรีสีเขียว เกาะอยู่บนลูกฟุตบอล

เกาหลีใต้-โสม ขาว, Tae geuk Jeonsa (ประกอบด้วยสองคำคือ Tae ที่แปลว่าความกว้างใหญ่ และ geuk ที่แปลว่าชั่วนิรันดร์เป็นคำเรียกเครื่องหมายที่อยู่บนธงชาติเกาหลี ส่วนคำว่า Jeonsa นั้นก็แปลว่านักรบนั่นเอง)

กรีซ-ทีม จากแดนเทพนิยาย, The Pirate Ship, Galanoleyki (ฉายา The Pirate Ship เป็นฉายาที่กรีซ ได้รับจากนักข่าวในนัดเปิดสนาม ฟุตบอลยูโร 2004 ซึ่งกรีซชนะโปรตุเกสไป 2 -1 โดยอ้างอิงมาจากเรือที่อยู่ในพิธีเปิดการแข่งขัน, ส่วน Galanoleyki นั้นแปลว่าสีฟ้า และ ขาว)
กลุ่ม C

อังกฤษ-สิงโต คำราม, ผู้ดี, Three Lion เป็นตราสัญลักษณ์ประจำตัวขุนนางของพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 ซึ่งดัดแปลงเพิ่มเติมจากตราแบบเดิมที่มีสิงโต 1 ตัวบนพื้นแดง มาเป็น 2ตัว และ 3 ตัวในที่สุด ปัจจุบันตราเหล่านี้ ถูกใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของทีมฟุตบอลและคริกเกตเท่านั้น

สหรัฐอเมริกา-แยง กี้, ลุงแซม, พญาอินทรี, Sons of Sam, the Yanks เป็นสแลงที่ใช้เรียกคนอเมริกากันโดยทั่วไป เป็นที่นิยมมากในหมู่ชาวอังกฤษ แต่ความหมายที่แคบลงไปกว่านั้นหมายถึงอเมริกันที่มาจากรัฐนิวอิงแลนด์ ส่วนลุงแซมนั้นก็หมายถึงประเทศสหรัฐอเมริกาอีกเช่นกัน ถูกใช้ครั้งแรกในสงครามปี 1812

แอลจีเรีย-จิ้งจอก ทะเลทราย, Les Fennecs ฉายา Fennecs นั้นมาจากชื่อของสัตว์ประจำชาติแอลจีเรียนั่นเอง

สโลวีเนีย-ทีม แห่งเทือกเขาตริกราฟ, ทีมแห่งหุบเขาโซคา (อ้างอิงจาก www.rakball.net)

กลุ่ม D

เยอรมนี-อินทรี เหล็ก, Mannschaft คำนี้ย่อมาจากคำว่า Nationalmannschaft เมื่อแปลออกมาจึงหมายถึง ทีมของประเทศชาติ

ออสเตรเลีย-ซอกเกอร์ รูส์, จิงโจ้, Socceroos เป็นชื่อเล่นอย่างเป็นทางการของ Australia national football team หรือทีมฟุตบอลแห่งชาติออสเตรเลีย

เซอร์เบีย-เด อะ บลูส์, Beli Orlovi (White Eagles) ฉายาอินทรีขาวมาจากชื่อหน่วยทหารระดับพระกาฬของเซอร์เบียที่สร้างชื่อใน ปฏิบัติการรบหลายต่อหลายครั้ง

กานา-ดาวดำ, The Black Stars ที่กานาเรียกตัวเองว่าดาวดำ เป็นเพราะบนธงชาติของกานามีรูปดาวสีดำเป็นสัญลักษณ์อยู่กลางผืนธง

กลุ่ม E

เนเธอร์แลนด์-กังหัน สีส้ม, อัศวินสีส้ม, Oranje อย่างที่รู้ว่าสีส้มเป็นสัญลักษณ์ของทีมชาติฮอลแลนด์ มันมีที่มาจากลวดลายสิงโตสีส้มบนโล่ของ William of Orange-Nassau ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งประเทศฮอลแลนด์, The Flying Dutchmen เป็นฉายาที่ได้จากเรือผีสิงที่มีชื่อเสียงที่สุด, Clockwork Orange ในช่วงทศวรรษ 1970 เป็นช่วงพีกสุดของทีมชาติเนเธอร์แลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นทีมที่มีการส่งบอลกันได้แม่นยำเที่ยงตรง จนได้รับฉายาว่า ‘นาฬิกาสีส้ม’

เดนมาร์ก-โค นม, Danish Dynamite คำนี้ปรากฏครั้งแรกในเพลงประจำทีมเดนมาร์กในการแข่งขันศึกยูโร ปี 1984 และหลังจากนั้นก็กลายเป็นฉายาไปโดยปริยาย, Olsen-Banden หรือ Olsen Gang หรือแก๊งโอลเซน เป็นนวนิยายภาษาเดนนิชว่าด้วยแก๊งอาชญากรรมที่มีผู้นำชื่อ Egon Olsen

ญี่ปุ่น-ซามูไร, ซามูไรสีน้ำเงิน, ปลาดิบ, อาทิตย์อุทัย, ยุ่น, Samurai Blue ที่ใช้ฉายานี้เพราะเสื้อประจำทีมชาติญี่ปุ่นคือสีน้ำเงิน

แคเมอรูน-หมอ ผี, Lions Indomptables คำนี้แปลว่าสิงโตผู้ไม่มีวันแพ้ ทีมชาติแคเมอรูนมีสัญลักษณ์เป็นรูปสิงโตสีเขียว

กลุ่ม F

อิตาลี-อัซ ซูรี่, มะกะโรนี, ฉายาทีมอัสซูรี มีที่มาจากคำว่าอัสซูโร ( Azzurro) มีความหมายถึงสีฟ้าสว่าง ทั้งเป็นสีประจำราชวงศ์ 'ซาวอย' ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ครองราชจนถึงปี ค.ศ.1946 เหตุที่คำว่าอัสซูรีกลายเป็นฉายาของทีมชาติอิตาลีที่แฟนบอลเรียกขานก็เนื่อง มาจากสีเสื้อทีมชาติของพวกเขาที่เป็นสีน้ำเงินอ่อน หรือสีฟ้าสว่างนั่นเอง

ปารากวัย-ฉายา กัวรานีส์ และ ลา อัลเบียโรญา (Guaranies, La Albirroja) หมายถึงสีขาวและแดง ซึ่งเป็นสีเสื้อของทีมชาติปารากวัย

นิวซีแลนด์-ฉายา กีวี และ All Whites โดยคำว่ากีวี ก็เนื่องมาจากผลไม้ชนิดนี้เป็นผลไม้ขึ้นชื่อของประเทศนิวซีแลนด์ สื่อมวลชนไทยจึงนำมาใช้เป็นฉายาเรียกขาน ส่วนคำว่า ออล ไวต์ ที่ชาวนิวซีแลนด์ ใช้เรียกทีมของพวกเขาก็เนื่องมาจากสีของเสื้อและกางเกงประจำทีมชาติ ที่เป็นสีขาวล้วน

สโลวาเกีย-ยัง ไม่มีฉายาอย่างเป็นทางการ เพียงเรียกกันแพร่หลายว่า สโลวัก ซึ่งก็หมายถึงชาวสโลวาเกียนั่นเอง

กลุ่ม G

บราซิล-มี ฉายาแบบไทยๆ ว่า ทีมแซมบ้า (Samba) ซึ่งหมายถึงจังหวะดนตรีของบราซิล ส่วนฉายาที่คนทั่วโลกเรียกขานก็คือ Seleção ซึ่งมีความหมายว่า 'ผู้ที่ได้รับเลือก'

เกาหลีเหนือ-มี ฉายาแบบไทยๆ ว่า 'โสมแดง' ส่วนฉายาที่ชาวเกาหลีเรียกทีมฟุตบอลของตัวเองก็คือ Mythical Korean Horse หรือ อาชาแห่งตำนาน

ไอวอรีโคสต์-ฉายาที่แฟนบอลชาวไทยเรียกขานก็คือ ช้างดำ ซึ่งก็ตรงกันกับสัญลักษณ์ของทีมที่เป็นรูปช้าง และฉายาที่แฟนบอลไอวอรีโคสต์ขนานนามทีมตัวเองว่า The Elephant

โปรตุเกส-ฉายา ที่แฟนบอลไทยเรียกก็คือ 'ฝอยทอง' ซึ่งเป็นตำรับอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวโปรตุเกสที่คนไทยรู้จักดี แต่ด้วยลีลาการเล่นที่เร้าใจ ทำให้บางครั้งก็เรียกว่า 'บราซิลแห่งยุโรป' ขณะที่แฟนบอลโปรตุเกสเองเรียกทีมของตัวเองว่า
Seleccao das Quinas มีความหมายว่า The Navigators

กลุ่ม H

สเปน-กระทิง ดุ, La Furia Roja แปลว่าแดงเดือด สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากสัญลักษณ์ของทีมชาติสเปนที่มีสีแดงเป็นองค์ประกอบ หลัก

สวิตเซอร์แลนด์-เมือง นาฬิกา, Schweizer Nati เป็นคำเรียก Swiss national football team ในภาษาเยอรมัน

ชิลี-เสื้อ แดง, La Roja (The Red One) ตั้งฉายาตามสีเสื้อทีมซึ่งเป็นสีแดง

ฮอนดูรัส- Los Catrachos มาจากชื่อของเหรียญกษาปณ์ของชาวนิการากัวในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 , La Bicolor หมายถึงสองสี มาจากสัญลักษณ์ของทีมชาติฮอนดูรัสที่ใช้สีขาวและฟ้าเป็นหลัก

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ขโมย


Sir Henry Wickham

Henry Wickham : ผู้ลอบขโมยยางพาราจากบราซิลข้ามโลก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มิถุนายน 2553 03:27 น.
(http://manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000083691)

สถิติการเกษตรกรรมของประเทศไทย ระบุว่า ในแต่ละปีประเทศไทยผลิตยางพาราได้ประมาณ 3 ล้านตัน ซึ่งคิดเป็น 30% ของยางที่ผลิตได้จากทั่วโลก และ 10-12% ของยางที่ผลิตได้นี้ถูกนำมาใช้ในประเทศ โดยการแปรรูปเป็นยางรถยนต์ส่วนที่เหลือจะถูกส่งออก จึงทำเงินเข้าประเทศได้ถึง 140,000 ล้านบาท/ปี ข้อมูลนี้คงทำให้คนหลายคนตระหนักในความสำคัญของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ซึ่งเป็นบุคคลแรกที่นำยางพาราจากมาเลเซียมาปลูกในประเทศไทย

แต่ถ้ามองย้อนไปให้ไกล เราก็จะพบว่า บุคคลที่เกษตรกรยางควรสำนึกในพระคุณด้วยคือ Henry Wickham ผู้ลอบนำยางพาราซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นของบราซิลออกนอกประเทศ ไปปลูกในประเทศเขตร้อน ซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษ และยางเจริญงอกงามดี จนธุรกิจยางในบราซิลประสบภาวะล่มสลาย เพราะยางธรรมชาติได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนโลกอุตสาหกรรมจนทุกวันนี้

Henry Wickham เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1846 ที่เมือง Hampstead ในประเทศอังกฤษ บิดามีอาชีพเป็นทนายความ ซึ่งได้เสียชีวิตตั้งแต่ Wickham มีอายุ 7 ขวบ เมื่ออายุ 20 ปี Wickham ได้เดินทางไป Nicaragua ในอเมริกากลาง (และได้กลับไปเยือนประเทศในแถบละตินอเมริกาหลายครั้ง) เมื่อเดินทางกลับถึงอังกฤษ ก็ได้เข้าพิธีสมรสกับ Violet Case Carter ผู้มีบิดาเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ Wickham คิดวางแผนร่ำรวยด้วยการนำต้นไม้ หรือพืชจากประเทศหนึ่งไปปลูกในต่างแดน จึงทดลองนำต้นกาแฟ กล้วย มะละกอ ฯลฯ จาก Nicaragua, Venezuela, Brasil, Belize ไป Australia, Papua New Guinea แต่ได้พบว่าพืชทดลองที่ลอบนำไปทุกชนิดไม่เจริญเติบโต นอกจากต้นยาง (Hevea brasiliensy) ที่ Wickham ได้นำออกจาก Santarem ในบราซิลในปี 1876 เพื่อเอาไปให้ Joseph Dalton Hooker ที่ลอนดอนผู้ได้สัญญาว่าจะจ่ายเงินให้ Wickham 20 ปอนด์ ถ้า Wickham นำเมล็ดยางมาได้ 1,000 เมล็ด แต่เมื่อ Wickham ไม่เคยประสบความสำเร็จใดๆ ในการนำพืชต่างแดนมาปลูก บรรดาผู้บริหารที่สวนพฤกษศาสตร์ Kew จึงไม่เชื่อว่า ต้นยางของ Wickham จะขึ้นได้ดี ดังนั้นจึงไม่ได้สนับสนุนให้มีการนำยางไปปลูกในดินแดนอาณานิคมของอังกฤษ จนกระทั่งเวลาผ่านไปอีก 20 ปี

ในปี 1876 ที่ Wickham ลอบขโมยยางออกจากบราซิลนั้น อังกฤษมีสมเด็จพระราชินี Victoria เป็นประมุข โดยมีอาณานิคมอยู่ทั่วโลก จึงสนับสนุนให้นักสำรวจ และนักผจญภัยต่างๆ ออกแสวงหาพืช และสัตว์แปลกๆ จากต่างประเทศมาปลูกและเลี้ยงในอังกฤษ โดยเฉพาะพืช ซึ่งจะนำมาปลูกทดลองที่สวนพฤกษศาสตร์ Kew และถ้าพบว่าพืชใดขึ้นได้ดี ในประเทศอาณานิคมใด ก็จะสนับสนุนให้คนพื้นเมืองปลูกพืชนั้นๆ เพื่อส่งออกขายนำเงินเข้าประเทศอังกฤษ สำหรับบราซิล ซึ่งขณะนั้นเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส ไม่มีกฎหมายห้ามการนำพืชออกนอกประเทศ ถึงกระนั้น Wickham ก็จำต้องใช้กลอุบายหลอกตำรวจบราซิลว่า สิ่งที่ตนกำลังนำออกจากประเทศเป็นพืชตัวอย่างที่จะเอาไปปลูกในสวนพฤกษศาสตร์ Kew บรรดาเจ้าหน้าที่บราซิลที่ตกหลุมพรางจึงอนุญาตด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ว่าตนกำลังทำลายเศรษฐกิจของชาติอย่างถาวร

เพราะบราซิลอยู่ในเขตร้อน ดังนั้นนักพฤกษศาสตร์อังกฤษ จึงส่งกล้ายางไปทดลองปลูกที่อินเดีย ลังกา และสิงคโปร์ และก็ได้พบว่า ยางเจริญเติบโตดีมาก จึงสนับสนุนให้มีการปลูกอย่างขนานใหญ่ในปี 1985 Henry Nicholas Ridley ก็ได้นำเมล็ดยางมาปลูกในมาเลเซีย และอีก 4 ปีต่อมา พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ผู้เป็นเจ้าเมืองตรัง ก็ได้นำยางมาปลูกที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นครั้งแรก

ก่อนที่ Wickham จะขโมยยาง สวนยางพาราไม่มีในโลกและ 98% ของยางที่ผลิตได้มาจากบราซิล แต่เมื่อยางงอกงามในเอเชีย เมื่อถึงปี 1919 อุตสาหกรรมยางในบราซิลก็ตายสนิท ซึ่งมีผลทำให้การค้าทาสในบราซิลหยุดตามไปด้วย และสิงคโปร์ได้กลายเป็นศูนย์กลางการค้ายางของโลกแทน เพราะ 75% ของยางที่ผลิตได้ในโลกมาจากดินแดนที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ยางจึงทำให้อังกฤษมีบทบาทมากในโลกอุตสาหกรรม แต่กว่าอังกฤษจะยกย่อง Wickham ให้เป็นท่าน Sir ก็ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตเพียงเล็กน้อย (วันที่ 27 กันยายน 1928) ทั้งนี้คงเพราะไม่ยอมรับความสามารถด้านเกษตรกรรมของ Wickham สืบเนื่องจากที่ Wickham ไม่มีปริญญาและไม่มีความสำเร็จด้านเกษตรกรรมเลย

นอกจากนี้ Wickham ยังวางตัวเสมือนว่าตนเป็นบุคคลสำคัญของโลก จนทำให้นักวิชาการและผู้คนไม่พอใจ ไม่เพียงแต่คนอังกฤษเท่านั้นที่ไม่รู้สึกสุข คนบราซิลเองก็ตราหน้า Wickham ว่าเป็นมหาโจรที่ปล้นชาติ แต่ในที่สุดเมื่ออังกฤษได้ยางมาปลูกในเอเชีย จนสามารถสนองความต้องการยางของโลกได้ถึง 95% อังกฤษจึงสามารถเป็นมหาอำนาจได้ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คุณงามความดีของ Wickham ได้ทำให้สมเด็จพระราชินี Victoria โปรดเกล้าฯ ให้ Wickham วัย 74 ปี ดำรงตำแหน่ง Sir ซึ่งขณะนั้นยากจนมาก และไร้ Violet ผู้เป็นภรรยามายินดีเคียงข้าง เพราะเธอได้เสียชีวิตไปก่อนนั้นนานแล้ว

ในด้านชีวิตส่วนตัว ชีวิตของ Wickham เป็นชีวิตที่ล้มเหลว เป็นคนมีความทะเยอทะยาน และความกระหายอำนาจรวมถึงต้องการความร่ำรวย ความต้องการเหล่านี้ได้ทำลายชีวิตครอบครัวและตนเองอย่างสมบูรณ์ เพราะ Wickham เป็นคนที่ไม่รักใครจริง ทั้งๆ ที่ภรรยารักเขามาก และติดตามเขาไปทุกหนทุกแห่ง แต่ความมุ่งมั่นแต่จะเอาชื่อเสียงทำให้เขาทอดทิ้งเธอให้อยู่คนเดียวบนเกาะ New Guinea ที่มีมนุษย์กินคนเป็นเวลานานถึง 19 วัน ดังนั้นเมื่อเธอหลุดรอดออกมาได้และกลับถึงอังกฤษ เธอก็ได้หย่าจากเขาทันที

เมื่อถูกหย่า Wickham กลายเป็นคนมีอารมณ์ปรวนแปรมาก และไม่มีเพื่อน ครั้นตกงานและ
ล้มเจ็บ เขาเสียชีวิตอย่างโดดเดี่ยว และตระหนักก่อนสิ้นใจว่า ตลอดชีวิตมีงานชิ้นเดียวที่ทำได้สำเร็จดี
นั่นคือ การขโมยยางออกจากบราซิล

ตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา โลกมีสนธิสัญญาเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ Cenvention on Biological Diversity ซึ่งมีใจความว่า นักวิทยาศาสตร์จะต้องได้รับอนุญาตจากประเทศเจ้าของบ้านเวลาจะเข้าไปเก็บพืช และสัตว์ตัวอย่างก่อน และให้นำผลประโยชน์ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นมาให้แก่คนท้องถิ่นด้วย

คุณหาอ่านเรื่องของ Wickham กับยางพารา เพิ่มเติมได้จาก
The Thief at the End of the World : Henry Wickham’s adventures โดย Joc Jackson ที่จัดพิมพ์โดย Viking ปี 2008 ราคา 27.95 ดอลลาร์

สุทัศน์ ยกส้าน เมธีวิจัยอาวุโส สกว.

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2553

TK Park

มองอดีต คิดถึงอนาคต “ทีเค พาร์ค”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 มิถุนายน 2553 09:41 น.
ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งชอปปิ้งชื่อดังระดับเอเชีย แต่ภายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่แห่งนี้ ยังเป็นที่ตั้งของ “ทีเค พาร์ค”อุทยานแห่งการเรียนรู้ แหล่งคลังสร้างปัญญาให้กับเยาวชนเมืองกรุง

... แม้ความเสียหายจากไฟไหม้ในเหตุจลาจล ไม่ได้ลามมาเผาถึงบริเวณอุทยานแห่งการเรียนรู้ แต่ทว่าก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบจากคราบเขม่าควันไฟนานนับหลายชั่วโมง และระบบสปริงเกอร์ที่ทำงานจนหนังสือและอุปกรณ์กว่าครึ่งได้รับความเสียหาย ทั้งยังไม่รวมถึงตัวโครงสร้างอาคารในภาพรวมที่เมื่อซ่อมแซมใหม่ ก็ยังไม่แน่ใจถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น

ปัจจุบันเซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึง ทีเค พาร์ค จึงไม่สามารถให้บริการได้ในระยะเวลาอันใกล้ และในอนาคตอุทยานแห่งการเรียนรู้แห่งนี้จะยังตั้งอยู่ที่เดิม หรือต้องหาที่ใหม่ ก็ยังไม่แน่นอน

ดร.ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล ผู้อำนวยการทีเค พาร์ค กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงในขณะที่กำลังซ่อมแซมปรับปรุงว่า ทรัพยากรของอุทยานการเรียนรู้ในส่วนของสารนิเทศ มีมากกว่า 70,000 ไอเทม โดยส่วนที่เสียหาย คือ โซนห้องสมุด และโซนบริการ แต่ขณะที่กำลังทำการซ่อมแซม งานส่วนอื่นๆยังคงดำเนินไปเช่นกัน

“ตอนนี้เราทำงานหนักมากกว่าเดิม โดยหนังสือที่เสียหายได้ส่งไปซ่อมแซมยังสำนักจดหมายเหตุ (หอสมุดแห่งชาติ) และแบ่งไปยังหน่วยงานเอกชนอื่นๆ งานที่เหลือซึ่งเป็นส่วนของกิจกรรมต่างๆ เราก็ยังมีการประชุมดูทิศทางภารกิจ และพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ขณะเดียวกันก็จัด TK Mobile Library อีกครั้ง โดยขณะที่ ทีเค พาร์ค เดิมยังเปิดบริการไม่ได้ เราก็ให้บริการห้องสมุดเคลื่อนที่ไปยังสวนจตุจักร และสวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) เป็นการชั่วคราว”

ส่วนกรณีข่าวว่าที่ต้องเคลื่อนย้ายไปที่มิวเซียม สยามนั้น ดร.ทัศนัย เผยว่า ได้ทำการย้ายแค่ในส่วนของออฟฟิศ และล่าสุดได้กลับมายังเซนทรัลเวิร์ลดแล้ว

“ความจริงแล้วทีเค พาร์ค แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสำนักงานบุคลากร และส่วนบริการ ซึ่งตอนนี้เราได้ย้ายส่วนสำนักงานกลับมายังเซ็นทรัลเวิร์ลด และวางแผนจะเปิดเป็น Mini TK Park หรือ TK Corner เป็นการชั่วคราว จนกว่าทีเค พาร์ค ส่วนเดิมจะได้รับการปรับปรุงเสร็จ ซึ่งคาดว่า อาจต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน”

มุมมองของคนที่ใกล้ชิดกับสถานที่แห่งนี้อย่าง “น้ำฝน ละม้ายแข” นักศึกษาพาร์ตไทม์ที่เคยทำงานอยู่ในทีเค พาร์ค ซึ่งเผยว่า สิ่งที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของเธอไปพร้อมกับเหตุการณ์ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น คือ “ตกงาน”

“โดยปกติทำงานพาร์ตไทม์ไปด้วย เรียนไปด้วย โดยทำงานที่ ทีเค พาร์ค มานาน เมื่อปิดบริการ ก็ทำให้ต้องตกงานไปโดยปริยาย ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ รายได้ทั้งหมด นับเป็นส่วนหนึ่งที่นำมาใช้ในการเรียนได้”

เมื่อถามถึงอนาคตว่า คนที่คลุกคลีกับ ทีเค พาร์ค แบบเธออยากให้อุทยานแห่งนี้เป็นอย่างไร น้ำฝน บอกว่า หากต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่ คงอยากให้ย้ายไปอยู่ในที่เงียบสงบ มีต้นไม้ หรือเปิดใกล้ๆกับสวนสาธารณะ เพื่อที่จะได้ลดความวุ่นวาย ส่วนจะต้องปรับปรุงอะไรตรงไหนเพิ่มเติมหรือเปล่า น้ำฝนตอบสั้นๆว่า ทีเค พาร์ค แบบเดิมนั้นดีมากอยู่แล้ว มีความลงตัวแทบทุกอย่าง ขอให้คงรูปแบบเดิมเอาไว้ก็พอ

ด้าน ณัฎฐ์ธรณ์ ทวีมงคลสวัสดิ์ นักศึกษาพาร์ตไทม์ และฝึกงานที่ ทีเค พาร์ค กล่าวถึงความรู้สึกว่าไม่อยากให้สถานที่แห่งนี้ต้องปิดตัวไป เบื้องต้นต้องไปหางานประจำที่อื่นทำ เพราะยังไม่รู้อนาคตที่แน่นอนของ ทีเค พาร์ค ใหม่

“ผมคิดว่า ทีเค พาร์ค เป็นทางเลือกของคนรุ่นใหม่ ซึ่งนอกจากมีความรู้จากหนังสือแล้ว ยังเป็นแหล่งกิจกรรมที่ไม่เหมือนที่อื่น บางคนไม่มาอ่านหนังสือ แต่มาดูหนังก็ได้ มาฟังเพลง หรือร่วมกิจกรรมด้านอื่นที่จัดขึ้น ส่วนตัวหากต้องย้ายที่ทำการไปที่อื่น ผมก็อยากให้ดูผลกระทบเรื่องการเดินทางเป็นหลัก เพราะอาจจะไม่สะดวกเหมือนเคย”

ส่วนผู้ใช้บริการแหล่งการศึกษาแห่งนี้เป็นประจำอย่าง “ณัฐ ชฎา แสงทับทิม” คุณแม่ของน้องมายด์ วัย 6 ขวบ เล่าว่า จูงมือคุณลูกมาสมัครเป็นสมาชิก ทีเค พาร์ค มาตั้งแต่เปิดใหม่ๆและเข้าใช้บริการอุทยานการเรียนรู้แห่งนี้สัปดาห์ละครั้ง ด้วยหวังอยากให้ลูกสาวได้สัมผัสกับบรรยากาศการเรียนรู้ และปลูกฝังให้รักการอ่าน

แต่พอทราบข่าวว่าเซ็นทรัลเวิลด์ ประสบเหตุเพลิงไหม้ ใจที่ผูกพันกับพื้นที่ห้องสมุดแห่งนี้ ก็รู้สึกเป็นห่วงในความเสียหายตลอดจนห่วงไปยังพนักงานที่เคยให้บริการ

“ตอนแรกพอรู้ว่าเกิดเหตุก่อนจะรู้สึกเสียดาย ห้องสมุด ก็ห่วงพนักงานที่เราเคยเห็นเขามาให้บริการเราอยู่ว่าจะตกงานหรือเปล่า ต่อมาถึงได้มารู้สึกเสียดาย นั่งย้อนไปในทีเค พาร์ค มีสิ่งที่เป็นประโยชน์ อย่างดิฉันเองอยากจะปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ลูก ก็จะพาเขามาทุกสุดสัปดาห์เพื่อให้เขามาอยู่กับคนอ่านหนังสือ และอ่านหนังสือดีๆที่ห้องสมุดอื่นๆไม่มี ตลอดจนพาครอบครัวไปร่วมกิจกรรมกับทีเค ปาร์ค ที่นี่จึงนับเป็นวันหยุดสำหรับเรา แต่ตอนนี้เมื่อต้องปิด ห้องสมุดอื่นๆที่มีก็คงไม่เหมือนกัน เพราะส่วนใหญ่จะมีแต่หนังสือสำหรับผู้ใหญ่ไม่ค่อยจะมีหนังสือภาษาอังกฤษ สำหรับเด็ก”


คุณแม่ยังสาวแสดงความคิดเห็นต่อกรณีย้ายพื้นที่ไปตั้งอยู่ที่มิ วเซียมสยามเป็นการชั่วคราว ว่าไม่ค่อยจะเห็นด้วยเนื่องจากเรื่องของการสัญจรที่อาจจะไม่สะดวกต่อคนหมู่ มากเหมือนเคย

“เราก็คิดถึงบรรยากาศการอ่านหนังสือ ดี ที่สบายๆมีคนทุกเพศทุกวัย พร้อมทำเลที่เดินทางสะดวก หากจะย้ายจริงๆก็อยากให้ยึดที่ที่เป็นแหล่งใจกลางเมืองให้มีรถไฟฟ้า หรือรถไฟใต้ดินผ่านก็น่าจะดีกว่านี้”


ภาพประกอบจาก Facebook - TK Park